งานวิจัย : การศึกษา วิธีการสอนแบบฐานการเรียนโดยใช้ กุศโลบาย การเรียนรู้ด้วยการประเมินเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในการฝึกปฏิบัติของนักเรียน
โดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประกอบ กระแสโสม
 
บทคัดย่อ ภาษาไทย

   บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาวิธีการสอนแบบฐานการเรียนโดยใช้กุศโลบายการเรียนรู้ด้วยการประเมินเชิงคุณภาพและปริมาณในการฝึกปฏิบัติของนักเรียน
ผลการวิจัย
ฐานการเรียน
รูปแบบฐานการเรียนรู้เป็นการจัดการเรียนที่เน้นให้นักเรียนได้เข้าเรียนเป็นฐานๆการเรียนและในแต่ละฐานการเรียนจะมีแผนภูมิงานหรือใบงานให้นักเรียนทำการศึกษาและนักเรียนสามารถได้เรียนอย่างหลากหลายเพราะนักเรียนจะทำการเปลี่ยนฐานการเรียนตามกำหนดเวลาที่ระบุในแต่ละฐาน นักเรียนได้ฝึกพัฒนาตนเองในรูปแบบการฝึกที่หลากหลาย ทำให้เกิดความท้าทายและสร้างแรงจูงใจ ทำให้การเรียนของนักเรียนไม่น่าเบื่อและนักเรียนแข่งขันการเรียน มีการช่วยเหลือแนะนำกันภายในกลุ่มทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียน
กุศโลบายการเรียนรู้
เป็นเงื่อนไขที่ผู้สอนวางแผนให้นักเรียนไปสู่จุดมุ่งหมาย ประสบผลสำเร็จในการเรียน
การให้นักเรียนได้ประเมินตนเอง การให้นักเรียนได้ตรวจสอบผลการฝึกปฏิบัติ การประเมินค่าเฉลี่ยของตนของกลุ่ม และตรวจสอบผลการปฏิบัติกับเกณฑ์ทำให้นักเรียนมีทิศทาง เป้าหมายในการพัฒนาตนเองบนพื้นฐานความพึงพอใจ มีความสุขกับการเรียน ไม่เคร่งเครียด กุศโลบายจึงเป็นเทคนิค อย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้
แผนการสอน
แผนการสอนประกอบด้วยวัตถุประสงค์การสอน เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดประเมินผล สื่อการเรียนการสอน เกณฑ์การผ่าน จากการประเมินแผนการสอนที่ 1-6 ประกอบด้วยการเล่นลูกมือล่าง การเล่นลูกมือบน การสร้างทักษะสัมพันธ์ จากการประเมินพบว่านักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินทุกแผนการสอน(นักเรียนต้องมีผลการประเมินร้อยละ 60 ขึ้นไป)
สื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอน ในแต่ละแผนการสอนจะประกอบด้วยแผนภูมิรูปแบบการฝึกทักษะละ 6 แผนภูมิ เมื่อนักเรียนนำแผนภูมิการฝึกไปศึกษาตามฐานการเรียนแล้ว นักเรียนสามารถปฏิบัติเป็นไปตามขั้นตอนการฝึกและสื่อยังเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนการฝึกปฏิบัติกิจกรรมฐานการเรียน สื่อจึงมีความจำเป็นต้องใช้ประกอบการเรียนการสอนในรูปแบบฐานการเรียนรู้และสามรถให้การดำเนินกิจกรรมการเรียนเป็นไปอย่างกระชับและมีผลต่อสัมฤทธิผลในการเรียนของนักเรียนนั้นหมายถึงนักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น
การรายงานผลการเรียนของนักเรียนด้วยแบบบันทึกรูปแบบการเรียนรู้แบบฐานการเรียนรู้ด้วยการใช้กุศโลบายในการประเมินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
นักเรียนเมื่อทำการเรียนรู้ในแต่ละฐานการเรียนรู้ นักเรียนจะบันทึกผลการฝึก ปัญหา แนวทางการแก้ไข ความถี่ในการฝึก ผลการทดสอบ ความพึงพอใจ และการประเมินผลตนเองและเพื่อน ซึ่งจากการตรวจบันทึกพบว่านักเรียนสามารถบันทึกจุดมุ่งหมาย เป้าหมายการฝึก รูปแบบฐานการฝึกในแต่ละฐาน ปัญหาอุปสรรค ข้อแก้ไข ความถี่ในการฝึก ผลการทดสอบและระดับการประเมินได้อย่างชัดเจนทำให้เห็นพัฒนาการในการเรียนของนักเรียน ทั้งยังได้ข้อมูลสารสนเทศทางวิชาการนำมาพัฒนาปรับปรุงแลกเปลี่ยนกันในชั้นเรียนและต่างชั้นเรียน ทำให้การเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีฐานข้อมูลในการเรียนรู้ที่ชัดเจน ตลอดจนนักเรียนได้ข้อมูลสารสนเทศในการปรับปรุงพัฒนาการเรียนของตน
สรุปขั้นตอนกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้

แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย ผู้สอนอธิบายนำรูปแบบการเรียนรู้

รับแผนภูมิรูปแบบการฝึก(ใบงาน)

นักเรียนแยกฐานการเรียน ศึกษาแผนภูมิรูปแบบการฝึก
เปลี่ยนฐานการเรียนรู้ ฝึกตามรูปแบบการฝึก(ใบงาน)

ทดสอบผลการปฏิบัติ(หาค่าเฉลี่ยการฝึกปฏิบัติของบุคคลของกลุ่ม)

ประเมินเกณฑ์การฝึกปฏิบัติ ทดสอบผลสัมฤทธิ์

ประเมินความพึงพอใจการทดสอบ
แจ้งผลการทดสอบ




ความเป็นมาและสภาพปัญหา
การจัดการเรียนการสอนฝ่ายวิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น(มอดินแดง)ได้มอบหมายให้หมวดพลานามัยเป็นผู้จัดรายวิชาสำหรับผู้สอนภายในหมวดวิชา แต่ตารางสอนวิชาการจะเป็นคนดำเนินการ บนพื้นฐานการให้อิสระทางวิชาการมีการเปิดวิชาเลือกหลากหลายมากขึ้น กิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินการอย่างมีอิสระบนระบบและการวางกรอบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมวดพลานามัยจัดการเรียนการสอนในกลุ่มวิชาสุขศึกษาพลศึกษาเป็นไปตามหลักสูตรขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 สุขศึกษาพลศึกษา จัดทักษะ กระบวนการเรียนรู้และคุณลักษณะค่านิยม คุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนในกลุ่มที่ 5 จากการจัดการศึกษาด้านพลศึกษาที่ผู้สอนรับผิดชอบคือสาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย กีฬาไทย และกีฬาสากล มาตรฐาน พ.3.1 เข้าใจและมีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกายเกมและกีฬา มาตรฐาน พ.3.2 รักการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอมีการสร้างเสริมสมรรถภาพ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณของการแข่งขัน ชื่นชมในสุนทรีภาพของการกีฬา และการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นกระบวนทัศน์ในการทำวิจัยในชั้นเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องทำการวิจัยควบคู่กันไป การจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางจึงถูกหยิบยกมาเสวนากัน เราจะจัดการเรียนการสอนพลศึกษาที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางบนบรรทัดฐานของปัญหาที่เป็นข้อค้นพบคือ ในกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษานักเรียนจะต้องฝึกปฏิบัติกิจกรรม นอกเหนือจากการวางจุดประสงค์ให้นักเรียนมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วสัมฤทธิผลของการฝึกในแต่ละครั้งจะประเมินระดับการพัฒนาก่อนทำการทดสอบได้อย่างไร ทราบความก้าวหน้าของตน ของกลุ่มได้อย่างไร จะเพิ่มเติมความเข้มข้นในการพัฒนาตนเองหรือกลุ่มมากน้อยเพียงใด และเมื่อแยกฝึกปฏิบัตินักเรียนมักให้ความสนใจน้อย จะเรียนเพื่อให้ผ่านๆเท่านั้น
ทำให้นักเรียนขาดประสิทธิภาพในการฝึกและขาดการพัฒนาให้ก้าวหน้าทั้งนี้จะส่งผลต่อแรงจูงใจของนักเรียน ทำให้ผลการทดสอบปฏิบัติคะแนนนักเรียนไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น ส่งผลต่อกิจกรรมการเรียนและส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียน และการเรียนการสอนปกติพบว่านักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนในทางที่แข่งขัน แกว่งแย่ง ขาดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำให้นักเรียนที่ทักษะไม่ดีท้อและไม่พัฒนาตนเองเท่าที่ควร ผู้วิจัยได้ทบทวนในหลายๆห้องในหลายๆระดับ แต่ปัญหาเหล่านี้พบมากที่สุดในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการสอนก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะสามารถพัฒนาผู้เรียนและประเด็นปัญหาที่ทำการวิเคราะห์พบสาเหตุอีกว่า 1)ผู้สอนแนะนำทักษะจะใช้การสาธิตเพียงอย่างเดียว เมื่อนักเรียนฝึกปฏิบัตินักเรียนมักใช้วิธีการเลียนแบบ แต่ไม่ค้นหาวิธีการอื่นๆ ทำให้นักเรียนขาดแนวคิดในทางสร้างสรรค์ 2)การแลกเปลี่ยนกันระหว่างนักเรียนมีน้อย ทำให้เทคนิคบางอย่างที่นักเรียนค้นพบไม่ได้เผยแพร่สู่หมู่นักเรียนด้วยกัน 3.นักเรียนฝึกเพื่อทำการทดสอบผลสัมฤทธิ์เพียงอย่างเดียว แต่กระบวนการในการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้ากับไม่สามารถตีค่าคะแนนได้ 3)สื่อที่ผู้สอนนำมาใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ (สื่อเคลื่อนย้ายไม่ได้ต้องดูในห้องที่มีเครื่องมือครบ เช่น วีดีโอ คอมพิวเตอร์) ผู้วิจัยปรับเปลี่ยนใช้สื่อภาพนิ่งและเคลื่อนย้ายได้ง่าย จากปัญหาและสภาพการที่ค้นพบผู้สอนได้ทบทวนหาแนวทางในการแก้ไข้ โดยการวิจัยในชั้นเรียนใช้ชื่อการวิจัยว่า”โครงการการศึกษาวิธีการสอนแบบฐานการเรียนโดยใช้กุศโลบายการเรียนรู้ด้วยการประเมินเชิงคุณภาพและปริมาณในการฝึกปฏิบัติของนักเรียน โดยจะใช้นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาวอลเล่ย์บอล เป็นกลุ่มประชากรในการศึกษาวิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น(มอดินแดง)ปีการศึกษา 2544-2545 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 135 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แผนการสอน
แผนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอนวิชาวอลเลย์บอล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กุศโลบายการเรียนรู้รูปแบบฐานการเรียนและการประเมิน
เชิงคุณภาพ
แบบรายงานกิจกรรมการเรียนการสอนและสรุปผลการฝึกปฏิบัติที่ได้จาก
1.แบบสังเกตการฝึกปฏิบัติของนักเรียน
2.แบบรายงานการสังเกตและการทดสอบของนักเรียน
เชิงปริมาณ
1.แบบตรวจสอบการเข้าฐานการเรียนของนักเรียน
2.แบบบันทึกความถี่ในการทดสอบของนักเรียน
3.คะแนนจากผลการทดสอบที่ได้จากการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติ
4.คะแนนจากผลการทดสอบ
แบบทดสอบทักษะกีฬาวอลเลย์บอล
ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบ
1.กำหนดจุดมุ่งหมายตัวชี้วัด
2.ศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบ โครงสร้าง เนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอน
3.กำหนดองค์ประกอบที่จะวัด วิธีวัด ระดับผลการวัด วิธีในการทดสอบ
4.นำแบบทดสอบที่สร้างเสร็จ ทดลองใช้ พัฒนาปรับปรุง สรุปผล นำไปใช้เป็นแบบทดสอบ
การสร้างเกณฑ์ปกติทักษะกีฬาวอลเลย์บอล
1.นำแบบทดสอบไปทำการทดสอบกับกลุ่มนักเรียนที่เรียนวอลเลย์บอล บันทึกผลการทดสอบ
2.นำผลการทดสอบของแต่ละแบบทดสอบหาค่าเฉลี่ย
3.แปลงคะแนนดิบแต่ละรายการเป็นคะแนนที
4.แบ่งระดับความสามรถจากคะแนน ที ปกติของแต่ละแบบทดสอบเป็น 5 ระดับ ดีมาก ดี ปานกลาง พอใช้ ปรับปรุง
โดยใช้สูตร จำนวนชั้น คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด(ประคอง กรรณสูตร,2533)
ค่าเฉลี่ย
สื่อการเรียนการสอน
ขั้นตอนการจัดทำสื่อ ผู้สอนใช้สื่อการสอนที่เรียบง่ายและมีวิธีการทำไม่ยุ่งยาก สะดวกในการเคลื่อนย้าย มองเห็นชัดเจน โดยมีขั้นตอนในการจัดทำสื่อดังนี้
1.ประมวลข้อมูลสารสนเทศในการเรียนการสอน
2.ออกแบบสื่อ สื่อจะเป็นแผนภูมิภาพขนาด 6/14 นิ้ว ติดด้วยกระดาษ A4 รูปแบบและวิธีการขั้นตอนในการฝึก ด้านหลังจะเป็นคำอธิบายทักษะในกิจกรรมฐานนั้นๆ หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกใส
3.นำสื่อไปทดลองใช้ ตรวจสอบภาษาที่อธิบาย รูปภาพที่ใช้สื่อ สัญญลักษณ์ต่างๆว่าผู้ใช้สื่อมีความเข้าใจและใช้สื่อตรงกับจุดมุ่งหมายหรือไม่ เมื่อได้ข้อมูลจะนำมาปรับปรุง พัฒนาแก้ไข
และหาค่าความเชื่อมั่น ซึ่งสื่อมีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 6.9 ขึ้นไป
4.ชุดสื่อ 1 ทักษะจะมีแผนภูมิการฝึกทั้งสิ้น 6 แผนภูมิ

การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยมีขั้นตอนดังนี้
1.จัดเตรียมแบบสังเกต
2.ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรตามวันเวลาที่ผู้วิจัยกำหนด
3.นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผล
4.ข้อมูลจากการประเมินผลแผนการสอนรายคาบ
การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตรวจสอบจากผลการรายงานของนักเรียน แบบบันทึกผู้วิจัย ผู้ช่วยวิจัยแบบสังเกตมาสรุปเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพและเขียนรายงาน
ข้อมูลเชิงปริมาณ แจกแจงความถี่อัตราร้อยละ ค่าเฉลี่ย จัดทำตารางรายงานผล
เชิงคุณภาพ 1.แบบรายงานผลการปฎิบัติของนักเรียนจำนวน 18 ชุด นักเรียนทำการส่งทุกครั้งหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์ ผู้วิจัยจะรวบรวมข้อมูลและสรุปผลไว้ทุกครั้ง
2.แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน ผู้ช่วยวิจัยและผู้วิจัยจะทำการบันทึกผลการเรียนในแต่ละสัปดาห์และเก็บข้อมูลไว้ทุกครั้ง
3.แบบประเมินแผนการสอนรายคาบ
เชิงปริมาณ
1.แบบตรวจสอบการเข้าฐานการเรียนของนักเรียน
ตารางที่ 2แบบตรวจสอบการเข้าฐานการเรียนของนักเรียน

สภาพทั่วไป เฉลี่ยการเข้าสอบ
ชาย 6 ครั้ง/คน
หญิง 8 ครั้ง/คน
กลุ่ม 5 ครั้ง/กลุ่ม

จากตารางที่ 2 พบว่า นักเรียนหญิงจะขยันทำการทดสอบมากว่าชาย คือเฉลี่ยหญิง 8 ครั้ง ชาย 6 ครั้ง กิจกรรมกลุ่มเฉลี่ยทำการทดสอบ 5 ครั้ง ต่อฐานการฝึก

2.แบบบันทึกความถี่ในการทดสอบของนักเรียน ผู้วิจัยจะบันทึกความถี่ในการทดสอบทั้งนี้เพื่อสังเกตความรับผิดชอบ ความตั้งใจ การพัฒนาตนเอง ซึ่งข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในแบบบันทึกและจะมีการสรุปทุกสัปดาห์
3.คะแนนจากผลการทดสอบที่ได้จากการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติ นักเรียนจะนำผลการฝึกปฏิบัติมาทดสอบกับเกณฑ์ เมื่อไม่น่าพอใจนักเรียนจะนำกลับไปฝึกเพื่อพัฒนาตนเองและนำกลับมาทดสอบ โดยผู้วิจัย ผู้ช่วยผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลในรูปของคะแนนไว้ทุกครั้ง
4.คะแนนจากผลการทดสอบ คะแนนการทดสอบที่นักเรียนเข้าทำการทดสอบจะเป็นตัวบ่งชี้ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนและนำมาคำนวนร้อยละว่านักเรียนผ่านเกณฑ์การเรียนที่ตั้งไว้หรือไม่หรือนักเรียนผ่านเกณฑ์การเรียนระดับใดบ้าง ซึ่งจะถูกเก็บข้อมูลทุกครั้งหลังเสร็จสิ้นการสอน(ได้จากการสรุปประเมินการสอนรายคาบ)
5.จากผลการประเมินตามแผนการสอนรายคาบ
การวิเคราะห์ข้อมูล
เชิงคุณภาพ
จากการศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้วิจัยแบ่งขั้นการสอนดังนี้
1.ขั้นเตรียม ผู้วิจัยจะนำเสนอแผนภูมิรูปแบบการฝึกปฏิบัติในแต่ฐาน อธิบายลักษณะของกิจกรรมแต่ละฐาน เวลา วิธีการทำการทดสอบ และแจกแผนภูมิการฝึก นักเรียนแต่ละกลุ่มจะเริ่มทำการศึกษาและซักถามปัญหา จากการวิจัยพบว่าปัญหาที่พบจะอยู่ที่ความเที่ยงตรงของแผนภูมิการฝึก เนื่องมาจากทิศทางการเคลื่อนไหว ทิศทางการเคลื่อนที่ของลูกบอล การแก้ปัญหาขั้นต้นผู้วิจัยอธิบายให้นักเรียนฟัง สามารถแก้ปัญหาขั้นต้นได้ จากนั้นนำแผนภูมิกลับมาทำการปรับปรุงเพื่อให้แผนภูมินั้นมีความตรงมากขึ้น และนำกลับมาใช้ใหม่พบว่า นักเรียนปฏิบัติได้ตรงตามลักษณะกิจกรรมในแผนภูมิการฝึกปฏิบัติ
2.ขั้นฝึกปฏิบัติ นักเรียนฝึกตามแผนภูมิการฝึกของแต่ละฐานการฝึกมีลักษณะการฝึกที่เน้นศึกษารูปแบบ การแก้ปัญหา เทคนิคที่ค้นพบและการแนะนำซึ่งกันและกัน ซึ่งจากการสังเกตนักเรียนให้คำแนะนำช่วยเหลือกันดีมาก ระยะเวลาที่กำหนดแต่ละแผนภูมิหรือแต่ละฐาน คือฐานละ 10-20 นาที นักเรียนจะหมุนวนจนครบฐานการฝึก
การฝึกลูกมือล่าง ประกอบด้วยฐานการเรียน 6 ฐาน เมื่อครบทั้ง 6 ฐานการเรียนนักเรียนบันทึกปัญหา ข้อค้นพบ เทคนิค แนวทางการแก้ปัญหา และร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นทำการฝึกเพิ่มเติม และเข้าสู่กระบวนการหาประสิทธิภาพของผลการฝึกโดยทำการทดสอบแต่ละฐานเพื่อหาค่าเฉลี่ย(ใช้เวลา 1 นาที นับจำนวนครั้งที่ปฏิบัติได้)วัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบผลการฝึกปฏิบัติโดยในขั้นนี้ผู้วิจัยใช้กุศโลบายที่ว่า “ผู้เรียนต้องตรวจสอบผลการฝึกของตนทุกๆ 1 นาที และบันทึกความถี่ของตนลงในแบบบันทึก ปัญหา แนวทางแก้ไข” ในแต่ละแผนภูมิแต่ละฐานจะมีเกณฑ์บ่งชี้ระดับผลการฝึก นักเรียนต้องนำจำนวนครั้งที่ได้ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์บ่งชี้ และประเมินความพึงพอใจของตนของกลุ่ม ถ้าพอใจนักเรียนจะทำการทดสอบประเมินกับผู้สอน แต่ถ้ายังไม่พอใจ นักเรียนทำการพัฒนาตนเองโดยการฝึกปฏิบัติเพิ่ม
และทุกๆ 1 นาที ให้ตรวจสอบลงบันทึกและปรับค่าเฉลี่ยในการฝึกทุกครั้งแล้วจึงนับไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์บ่งชี้ผลการฝึกและนำผลการฝึกค่าเฉลี่ย(ความพึงพอใจภายในกลุ่ม) หลังจากนั้นนักเรียนจะนำผลส่งผู้วิจัย และขอทดสอบประเมินโดยผู้เรียนจะเลือกแผนภูมิการทดสอบใดก่อนหลังก็ได้ เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการประเมิน ผู้สอนจะให้ผู้เรียนเลือกชิ้นงาน(ฐานการเรียนลูกมือล่าง)เพียง 1 ชิ้นงานแล้วสรุปบันทึกลงใน “แบบบันทึกความพึงพอใจฐานการเรียนเพื่อประเมินระดับการเรียน”
แผนการสอน
การเขียนแผนการสอนจะเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางและเมื่อทำการเรียนการสอนเสร็จสิ้นจะทำการประเมินผลการสอนทุกครั้ง ซึ่งจากการประเมินแผนการสอนสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้
นักเรียน นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 60 ทุกแผนการเรียน(รายละเอียดดูได้จากภาคผนวก)
การสร้างเกณฑ์ปกติ
เกณฑ์ปกติสามารถทำให้นักเรียนทราบผลการฝึกปฏิบัติ เมื่อนักเรียนฝึกปฏิบัติเสร็จสิ้นนักเรียนจะทำการทดสอบผลการปฏิบัติของตนของกลุ่มโดยนำมาเทียบกับเกณฑ์ปกติที่สร้างขึ้น(ผู้สอนจัดพิมพ์ใส่พลาสติกลูกฟูกขนาด 6 /14 นิ้ว)และสรุปผลความสามารถเพื่อประเมินและพัฒนา ปรับปรุงก่อนทำการทดสอบผลสัมฤทธิ์ต่อไป ทำให้นักเรียนสามรถประเมินตนเองก่อนการทดสอบและมีความพร้อมก่อนทำการทดสอบจริง
การตรวจสอบรายงานผลการเรียนจากแบบรายงานผลการเรียนของนักเรียน
เมื่อนักเรียนทำการเรียนในแต่ละครั้งนักเรียนจะมีแบบบันทึกทั้งนี้เพื่อประเมินผลของตนของกลุ่ม ซึ่งในแบบประเมินจะประกอบด้วย การวางเป้าหมาย จุดมุ่งหมายการฝึก รูปแบบการฝึกแต่ละฐาน ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไข ตารางบันทึกความถี่ในการฝึก ผลการทดสอบ การเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบกับเกณฑ์ปกติ แผนภูมิเปรียบเทียบผลการทดสอบกับกลุ่มอื่นๆซึ่งโดยสรุป นักเรียนสามารถส่งแบบรายงานทุกครั้งหลังจากเสร็จสิ้นการสอน จะมีปัญหาอยู่บ้างก็คือนักเรียนบันทึกสลับฐานการเรียนทั้งนี้มาจากการที่นักเรียนทำการทดสอบฐานไหนก่อน ก็จะบันทึกฐานนั้น ทำให้ไม่เรียงลำดับ แต่ข้อมูลที่ได้เป็นสารสนเทศในการสรุปผลของการเรียนของนักเรียนได้เป็นอย่างดี (ดูตัวอย่างจากแบบรายงานการเรียนในภาคผนวก)
สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
ผลการวิจัย
ฐานการเรียน
รูปแบบฐานการเรียนรู้เป็นการจัดการเรียนที่เน้นให้นักเรียนได้เข้าเรียนเป็นฐานๆการเรียนและในแต่ละฐานการเรียนจะมีแผนภูมิงานหรือใบงานให้นักเรียนทำการศึกษาและนักเรียนสามารถได้เรียนอย่างหลากหลายเพราะนักเรียนจะทำการเปลี่ยนฐานการเรียนตามกำหนดเวลาที่ระบุในแต่ละฐาน นักเรียนได้ฝึกพัฒนาตนเองในรูปแบบการฝึกที่หลากหลาย ทำให้เกิดความท้าทายและสร้างแรงจูงใจ ทำให้การเรียนของนักเรียนไม่น่าเบื่อและนักเรียนแข่งขันการเรียน มีการช่วยเหลือแนะนำกันภายในกลุ่มทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียน
กุศโลบายการเรียนรู้
เป็นเงื่อนไขที่ผู้สอนวางแผนให้นักเรียนไปสู่จุดมุ่งหมาย ประสบผลสำเร็จในการเรียน
การให้นักเรียนได้ประเมินตนเอง การให้นักเรียนได้ตรวจสอบผลการฝึกปฏิบัติ การประเมินค่าเฉลี่ยของตนของกลุ่ม และตรวจสอบผลการปฏิบัติกับเกณฑ์ทำให้นักเรียนมีทิศทาง เป้าหมายในการพัฒนาตนเองบนพื้นฐานความพึงพอใจ มีความสุขกับการเรียน ไม่เคร่งเครียด กุศโลบายจึงเป็นเทคนิค อย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้
แผนการสอน
แผนการสอนประกอบด้วยวัตถุประสงค์การสอน เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดประเมินผล สื่อการเรียนการสอน เกณฑ์การผ่าน จากการประเมินแผนการสอนที่ 1-6 ประกอบด้วยการเล่นลูกมือล่าง การเล่นลูกมือบน การสร้างทักษะสัมพันธ์ จากการประเมินพบว่านักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินทุกแผนการสอน(นักเรียนต้องมีผลการประเมินร้อยละ 60 ขึ้นไป)
สื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอน ในแต่ละแผนการสอนจะประกอบด้วยแผนภูมิรูปแบบการฝึกทักษะละ 6 แผนภูมิ เมื่อนักเรียนนำแผนภูมิการฝึกไปศึกษาตามฐานการเรียนแล้ว นักเรียนสามารถปฏิบัติเป็นไปตามขั้นตอนการฝึกและสื่อยังเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนการฝึกปฏิบัติกิจกรรมฐานการเรียน สื่อจึงมีความจำเป็นต้องใช้ประกอบการเรียนการสอนในรูปแบบฐานการเรียนรู้และสามรถให้การดำเนินกิจกรรมการเรียนเป็นไปอย่างกระชับและมีผลต่อสัมฤทธิผลในการเรียนของนักเรียนนั้นหมายถึงนักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น
การรายงานผลการเรียนของนักเรียนด้วยแบบบันทึกรูปแบบการเรียนรู้แบบฐานการเรียนรู้ด้วยการใช้กุศโลบายในการประเมินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
นักเรียนเมื่อทำการเรียนรู้ในแต่ละฐานการเรียนรู้ นักเรียนจะบันทึกผลการฝึก ปัญหา แนวทางการแก้ไข ความถี่ในการฝึก ผลการทดสอบ ความพึงพอใจ และการประเมินผลตนเองและเพื่อน ซึ่งจากการตรวจบันทึกพบว่านักเรียนสามารถบันทึกจุดมุ่งหมาย เป้าหมายการฝึก รูปแบบฐานการฝึกในแต่ละฐาน ปัญหาอุปสรรค ข้อแก้ไข ความถี่ในการฝึก ผลการทดสอบและระดับการประเมินได้อย่างชัดเจนทำให้เห็นพัฒนาการในการเรียนของนักเรียน ทั้งยังได้ข้อมูลสารสนเทศทางวิชาการนำมาพัฒนาปรับปรุงแลกเปลี่ยนกันในชั้นเรียนและต่างชั้นเรียน ทำให้การเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีฐานข้อมูลในการเรียนรู้ที่ชัดเจน ตลอดจนนักเรียนได้ข้อมูลสารสนเทศในการปรับปรุงพัฒนาการเรียนของตน

เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ.หลักสูตรประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ฉบับปรับปรุง 2533,2535
กรมวิชาการ.การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย กระทรวงศึกษาธิการ,2539
กาญจนา ดาราศักดิ์.การศึกษาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย.สำนักงานวิจัยแห่งชาติ,2524
เขมชาติ วิริยารมย์.การสร้างแบบทดสอบสมรรถภาพทางกลไกสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒประสานมิตร,2533
เฉลิมวุฒิ แก่นเวียงรัตน์.เกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกลไกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร,2533
นิทัศน์ ทะรินเดช.การสร้างสมรรถภาพทางกลไกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ,2535
บรรจง คณะวรรณ การทดสอบวัดผลและประเมินผลการศึกษา.มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2527
มนตรี ไชยพันธุ์ การศึกษาสมรรถภาพกลไกนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี6ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ,2535
วรศักดิ์ เพียรชอบและคณะ.ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกายกับวุฒิภาวะและสัมฤทธ์ผลทางการเรียนของนักเรียนชายในระดับมัธยมศึกษาของไทย.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2523
วรยุทธ ไกรเลิศมงคล.ความสัมพัน์ระหว่างทรวดทรงกับสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1ของกลุ่มโรงเรียนที่ 8กรมสามัญศึกษา.กรุงเทพฯ,2534
สุเนต นวกิจกุล.การสร้างสมรรถภาพทางกาย.กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์สารมวลชน,2524
AnvanwnS.U.physical fitness of Nigerian youth.Dissertation Abstracts international 38(november 1977):2642-A.
Shrida.F.S. “A Comparative Study of physical education program influenes on youth physical fitness levels in public schools in irag and united states” dissertation abstracs international.42(October 1981):1536-A,1981.
Young.k.s.physical fitness of secondary school boys and girls: A comparison of the effects of two different program of physical
education.Dissertation Abstracs international 39 (January 1979):4128-A.
Willgoos.C.E. Evalution in Health Education and physical Education.New York:Mcgraw-Hill inc 1961.
Zuti.W.B.and Cobin.C.B.Physical fitnes norms for college freshman.The Researh Quartery 48 (May 1971):409-502.