งานวิจัย : การศึกษารูปแบบปรับปรุงส่งเสริมในโภชนาการในหมู่บ้านแบบผสมผสาน
Nutrition Development Model in Rural Community
โดย :
 
บทคัดย่อ ภาษาไทย

   คณะผู้วิจัย

ที่ปรึกษาโครงการ
รศ.พญอุษา ธนังกูร MD. D.C.H
หัวหน้าโครงการ
เพียงใจ สาตะรักษ์-อึ้งสกุล วท.บ. (โภชนวิทยา)
Diploma in applied nutrition
MPS (food and Nutrition
Planning)
ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการ
วีณา อิสรางกูร ณ อยุธยา วท.บ. (โภชนวิทยา )
M. Com. Health
นักวิจัย
ปรีดา แย้มเจริญวงค์ วท.บ. (สุขาภิบาล)
M.S. in Environmental Health
ชวนพิศ วงศ์สามัญ วท.บ. (พยาบาล)
ประกาศนียบัตรผดุงครรภ์
วท.ม. (สาธารณสุข)
โภชนวิทยา
เพชรไสว ลิ้มตระกูล ศษ.บ.(สาขามัธยมศึกษา)
เกียรตินิยมอันดับ 2
คม.(การวัดและประเมินผล
การศึกษา)
ประภาพร ศรีตระกูล ศษ.บ. (สาขามัธยมศึกษา)
เกรียรตินิยมอันดับ 2
คม.(การวัดและ
ประเมินผลการศึกษา)
ผู้ช่วยนักวิจัย
วรรณภา นิวาสะวัต คบ. (อาหารและโภชนาการ)




บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปรับปรุงส่งเสริมโภชนาการในหมู่บ้านแบบผสมผสาน โดยให้มีอาสาสมัครสตรีในหมู่บ้านเพื่อทำการฝึกอบรมให้ทำหน้าที่ส่งเสริมงานโภชนาการในชุมชนโดยเรียกชื่อว่า “โภชนากรอาสา” (ภอส) ขณะเดียวกันก็พัฒนาด้านสุขภาพอนามัย การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจสังคมและการเกษตรไปพร้อม ๆ กัน โดยคาดหวังว่ารูปแบบการพัฒนาที่มีงานโภชนาการเป็นแกนกลาง จะส่งผลให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คณะผู้วิจัยได้ทดลองรูปแบบดังกล่าวใน 4 หมู่บ้าน ในเขตจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม และเลือกหมู่บ้านในเขตเดียวกันเป็นหมู่บ้านควบคุมจังหวัดละ 2 หมู่บ้าน สำหรับหมู่บ้านควบคุมนั้นไม่มีการฝึกอบรมหรือคัดเลือก ภอส.แต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อทำการเปรียบเทียบผลการทดลองระหว่างหมู่บ้านที่มี ภอส. กับหมู่บ้านที่ไม่มี ภอส. (แต่จะมีเฉพาะ อสม.เป็นผู้ดำเนินงานโภชนาการ) คณะผู้วิจัยได้เริ่มดำเนินการวิจัยงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2527 ถึงเดือนมิถุนายน 2530 โดยการสนับสนุนจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับขอนแก่น

ผลการวิจัย

ผลการฝึกอบรมอาสาสมัครปรากฏว่า ภอส. สามารถปฏิบัติงานได้ในขอบเขตที่ค่อนข้างจำกัด ไม่สามารถทำงานพัฒนาได้ทุกด้าน ลักษณะงานที่ ภอส. สามารถกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การสื่อประสานระดับหมู่บ้าน การสำรวจข้อมูลโภชนาการที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน การชั่งน้ำหนักเด็ก การสาธิตประกอบอาหารเสริม รวมทั้งถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มแม่บ้านโดยการสนทนาเป็นรายบุคคล กล่าวได้ว่า ภอส. แบ่งเบาภาระงานของ อสม. ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสื่อสารและการโภชนาการ ผลการดำเนินงานด้านโภชนาการพบว่า น้ำหนักเด็กแรกเกิดในหมู่บ้านทดลองมีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีน้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มจาก 2.61 กิโลกรัมในปี 2526 เป็น 2.71 กิโลกรัมในปี 2530 และในขณะเดียวกันเด็กวัยก่อนเรียนมีการเจริญเติบโตดีขึ้นกว่าเดิม โรคขาดสารอาหารลดลงจากร้อยละ 62.34 เหลือร้อยละ 58.44 ซึ่งมีความแตกต่างจากหมู่บ้านทดลองอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับผลงานด้านสุขภาพอนามัยโดยทั่วไป มีสภาวะดีขึ้น อัตราการตายของเด็กทารกไม่มีโรคปอดบวม อุจจาระร่วง หนอนพยาธิลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสิถิติ ส่วนสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมนั้น ชาวบ้านมีความเข้าใจในการปรับปรุงน้ำบริโภค การมีและการใช้ส้วมถูกสุขลักษณะ การกำจัดขยะมูลฝอย และการทำความสะอาดบ้านเรือนและบริเวณโดยรอบดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ผลของการพัฒนาอาชีพเสริมภายหลักฤดูกาลทำนาแก่สตรีแม่บ้าน พบว่า การหัตถกรรมทอเสื่อกก ส่งผลให้มีรายได้สูงขึ้น เนื่องจากรการปรับปรุงสีและลวดลายผลจากการส่งเสริมการปลูกถั่วพุ่ม พบว่าชาวบ้านนิยมปลูกและบริโภคถั่วพุ่มสูงขึ้นกว่าเดิมส่วนการส่งเสริมเพาะเห็ดฟางยังไม่ประสบผลสำเร็จในทุกหมู่บ้านทดลอง นอกจากนี้เมทื่อวิเคราะห์ผลที่เกิดจากการพัฒนาหมู่บ้านทดลองทั้ง 4 หมู่บ้าน คณะผู้วิจัยพบว่า ผู้ใหญ่บ้านเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนาหมู่บ้านให้ประสบผลสำเร็จ