งานวิจัย : นารี ขันแก้ว สุมาลี ชัยเจริญ และ จุมพล ราชวิจิตร. (2545) ผลของการใช้ปฏิสัมพันธ์ชี้นำทางการเรียนในคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ความน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.วารสาร: วารสารศึกษาศาสตร์. 2545. 26(3):
โดย : ศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ชัยเจริญ
 
บทคัดย่อ ภาษาไทย

   บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการเรียนแบบร่วมมือในคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน กลุ่มที่มีความสามารถสูงและกลุ่มที่มีความสามารถคละกัน และศึกษารูปแบบการทำความเข้าใจของผู้เรียนในขณะที่เรียน วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องความน่าจะเป็น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน อ.เมือง จ.ขอนแก่น จำนวน 40 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบ 2 ขั้นตอน แล้วจัดกลุ่มผู้เรียน ตามระดับความสามารถ เป็นผู้เรียนที่มีความสามารถสูง(เก่ง) และต่ำ(อ่อน) จำนวน 30 และ 10 คน ตามลำดับแล้วนำไปจัดเป็นกลุ่มการเรียนแบบร่วมมือ ซึ่งแบ่งเป็น 4 แบบดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ผู้เรียนมีความสามารถสูง(เก่งทั้งคู่) : เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้ปฏิสัมพันธ์ชี้นำทางการเรียน กลุ่มทดลองที่ 2 ผู้เรียนมีความสามารถสูง(เก่งทั้งคู่) : เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ไม่ใช้ปฏิสัมพันธ์ชี้นำทางการเรียน กลุ่มทดลองที่ 3 ผู้เรียนมีความสามารถคละกัน(เก่ง 1คน อ่อน 1 คน) : เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้ปฏิสัมพันธ์ชี้นำทางการเรียน กลุ่มทดลองที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถคละกัน(เก่ง 1 คน อ่อน 1 คน) : เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ไม่ใช้ปฏิสัมพันธ์ชี้นำทางการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1)บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบที่ใช้ปฏิสัมพันธ์ชี้นำทางการเรียนที่มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ .53 และแบบที่ไม่ใช้ปฏิสัมพันธ์ชี้นำทางการเรียน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น จำนวน 20 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .72 3)แบบสัมภาษณ์ เกี่ยวกับรูปแบบการทำความเข้าใจ รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มทดลอง 4 กลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างกลุ่มเก่งทั้ง 2 กลุ่ม และกลุ่มคละทั้ง 2 กลุ่ม โดยใช้การทดสอบค่า t (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ใช้การอธิบายและตีความ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่มีความสามารถสูง ระหว่างกลุ่มที่ใช้ปฏิสัมพันธ์ชี้นำทางการเรียนกับกลุ่มที่ไม่ใช้ปฏิสัมพันธ์ชี้นำทางการเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่มีความสามารถคละกัน ระหว่างกลุ่มที่ใช้ปฏิสัมพันธ์ชี้นำทางการเรียนกับกลุ่มที่ไม่ใช้ปฏิสัมพันธ์ชี้นำทางการเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน 3) รูปแบบการทำความเข้าใจเนื้อหาของผู้เรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของกลุ่มที่ใช้ปฏิสัมพันธ์ชี้นำทางการเรียน พบลักษณะสำคัญดังนี้ เด็กเก่ง : สร้างกระบวนการในการทำความเข้าใจโดยศึกษารายละเอียดจาก รูปแบบตามตัวอย่าง