งานวิจัย : ผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วมที่มีต่อความพึงพอใจในการเรียนวิชาจิตวิทยาเบื้องต้นของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเกษตรศาสตร์
The Effects of Participatory Leaning Model on Sophomore Agriculture Students' Satisfaction from Attending the Introduction to Psychology Class
โดย :
 
บทคัดย่อ ภาษาไทย

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้ รูปแบบการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม ในวิชา 213 111 จิตวิทยาเบื้องต้น หัวข้อการปรับตัว 2) เพื่อสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในเรื่องการปรับตัว และ 3) เพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีให้กับนักศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเกษตรศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 213 111จิตวิทยาเบื้องต้น ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 จำนวน 46 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการเรียนเรื่องการปรับตัว 2) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม 3) แบบแสดงความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม 4) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนของนักศึกษาและ 5) แบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 จัดกิจกรรมการเรียนโดยใช้แผน การเรียนเรื่องการปรับตัวให้แก่นักศึกษา จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 90 นาที ระยะที่ 2 รวบรวมข้อมูลโดย 1) สังเกตและบันทึกพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนของนักศึกษา 2) บันทึกจำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียน และเข้าเรียนสายเกิน 10 นาที ของการจัดกิจกรรมการเรียนทั้ง 2 ครั้ง 3) ให้นักศึกษาตอบแบบวัดความพึงพอใจ และแบบแสดงความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.82 และ 4) ตรวจใบงานเพื่อประเมินผลงานของนักศึกษาและรวบรวมคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้งรายชื่อ website ที่นักศึกษาระบุไว้ในใบงาน
การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการด้วยการหาค่าร้อยละของคะแนนการตอบแบบวัดความ พึงพอใจ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน ผลการบันทึกการเข้าชั้นเรียน และการตอบแบบแสดงความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้ รูปแบบการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม ในวิชา 213 111 จิตวิทยาเบื้องต้น หัวข้อการปรับตัว 2) เพื่อสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในเรื่องการปรับตัว และ 3) เพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีให้กับนักศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเกษตรศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 213 111จิตวิทยาเบื้องต้น ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 จำนวน 46 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการเรียนเรื่องการปรับตัว 2) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม 3) แบบแสดงความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม 4) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนของนักศึกษาและ 5) แบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 จัดกิจกรรมการเรียนโดยใช้แผน การเรียนเรื่องการปรับตัวให้แก่นักศึกษา จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 90 นาที ระยะที่ 2 รวบรวมข้อมูลโดย 1) สังเกตและบันทึกพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนของนักศึกษา 2) บันทึกจำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียน และเข้าเรียนสายเกิน 10 นาที ของการจัดกิจกรรมการเรียนทั้ง 2 ครั้ง 3) ให้นักศึกษาตอบแบบวัดความพึงพอใจ และแบบแสดงความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.82 และ 4) ตรวจใบงานเพื่อประเมินผลงานของนักศึกษาและรวบรวมคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้งรายชื่อ website ที่นักศึกษาระบุไว้ในใบงาน
การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการด้วยการหาค่าร้อยละของคะแนนการตอบแบบวัดความ พึงพอใจ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน ผลการบันทึกการเข้าชั้นเรียน และการตอบแบบแสดงความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจรูปแบบการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วมในระดับสูง (ร้อยละ 61.2) สิ่งที่นักศึกษาพึงพอใจสูงสุด 5 ลำดับ คือ บรรยากาศในชั้นเรียน (ร้อยละ 81.1) รองลงมาคือ การทำงานเป็นทีมและการฟังความคิดเห็นของคนอื่นที่แตกต่าง (ร้อยละ 76.7) การนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต (ร้อยละ 74.4) และการเสริมแรงจากผู้สอน (ร้อยละ 72.1) ตามลำดับ
2. นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม สรุปได้ 2 ประเด็น ได้แก่ ความคิดเห็นด้านบวก คือ นักศึกษาชอบรูปแบบการเรียนรู้แบบนี้ เพราะบรรยากาศ เป็นกันเอง สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทำกิจกรรมร่วมกัน รู้จักเพื่อน มากขึ้น ได้ฝึกการกล้าแสดงออก สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ กิจกรรมน่าสนใจโดยเฉพาะกิจกรรมคลายเครียดและการฝึกสมาธิ ส่วนความคิดเห็นด้านลบ คือ นักศึกษาสนใจในการเตรียมนำเสนอผลงาน ทำให้ไม่สนใจฟังการนำเสนอผลงานของกลุ่มอื่น เวลาสำหรับการอภิปรายในกลุ่มเล็ก (5-6 คน) น้อยไป ได้เนื้อหาของความรู้น้อยแต่เสียเวลามาก อายไม่กล้าแสดงออก และนักศึกษาในกลุ่มเล็กไม่มีโอกาสออกไปนำเสนอผลงานหน้าชั้นครบทุกคน
3. นักศึกษาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีมาก ทั้งกิจกรรมกลุ่มเล็ก (5-6 คน) และกิจกรรมกลุ่มใหญ่ (ทั้งชั้น)
4. นักศึกษาสนใจกิจกรรมการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมดีมาก
5. นักศึกษามีทักษะการใช้เทคโนโลยีอยู่ในเกณฑ์ดี และให้ความร่วมมือในการค้นหาความรู้ทาง internet ดี โดยสามารถรวบรวมชื่อ website จากใบงานของนักศึกษาได้จำนวน 27 website
จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วมโดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และการกำหนดให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีในการค้นหาความรู้ ทำให้นักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้วิชา 213 111 จิตวิทยาเบื้องต้น เรื่องการปรับตัวด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบนี้ในระดับสูง ข้อเสนอแนะสำคัญของการวจัยครั้งนี้คือผู้สอนควรจะเลือกเนื้อหาที่จะใช้สอนให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม รวมทั้งเลือกเนื้อหาที่จะสอนให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบนี้ และหลังจากทำกิจกรรมการเรียนจบในแต่ละกิจกรรมแล้ว ควรสรุปสิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมร่วมกันกับนักศึกษา