งานวิจัย : การพัฒนาบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านกระบวนการบริหารการศึกษาเพื่อเตรียม “ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” เป็นกรรมการในคณะกรรมการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตพื้นที่การศ
Staff Development of a Sub-District Self-Management Organization in the Northeast, and the Educational Administration Process Preparing “Local Government Representatives” for Educational, Religious an
โดย :
 
บทคัดย่อ ภาษาไทย

   การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการเตรียมเป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านกระบวนการบริหารการศึกษาของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มิวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ ด้านกระบวนการบริหารการศึกษาในองค์การบริหารส่วนตำบล 2) เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล ในการเตรียมเป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านกระบวนการบริหารการศึกษา การวิจัยได้ศึกษาบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล 3 กลุ่มคือประธานกรรมการบริหาร ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 246 คน ดำเนินการสัมมนาจำนวน 207 คน และดำเนินการฝึกอบรมด้านกระบวนการบริหารการศึกษาจำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย
1. สภาพปัจจุบันของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าไม่มีประสบการณ์ตรงด้านการศึกษา(เป็นครูหรือผู้บริหาร)ร้อยละ 72.37 ไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการศึกษา(เป็นกรรมการโรงเรียน)ร้อยละ 57.32 ไม่เคยมีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ร้อยละ 76.83 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในคณะกรรมการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตพื้นที่การศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในระดับน้อย( = 2.43 ) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการบริหารการศึกษา ในระดับน้อย( = 2.47 ) และมีความต้องการในการพัฒนาด้านกระบวนการบริหารการศึกษา ในระดับมาก( = 4.44 )
2. การพัฒนาบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลด้านกระบวนการบริหารการศึกษา ในการเตรียมเป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านกระบวนการบริหารการศึกษา ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ การประชุมสัมมนา และการฝึกอบรม
2.1 การประชุมสัมมนาเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจ บุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลเกี่ยวกับ บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พบว่าไม่เคยประชุมสัมมนาหรือฝึกอบรม ร้อยละ 79.23 และมีความต้องการในการพัฒนาด้านกระบวนการบริหารการศึกษา ในระดับมาก( = 4.12 )
2.2 การฝึกอบรมด้านกระบวนการบริหารการศึกษา เป็นการพัฒนาบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล ในการเตรียมเป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในคณะกรรมการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และมีการศึกษาดูงานในสถานศึกษาประกอบการฝึกอบรม พบว่าไม่เคยฝึกอบรมเกี่ยวกับด้านกระบวนการบริหารการศึกษา ร้อยละ 77.59 การฝึกอบรมด้านกระบวนการบริหารการศึกษา พบว่าก่อนการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในระดับน้อย( = 2.40 ) หลังการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในระดับมาก( =3.99 ) และจะนำความรู้ความเข้าใจไปใช้ประโยชน์ระดับมาก ( =4.17 )
3. ความต้องการรูปแบบการพัฒนาบุคลากร ในองค์การบริหารส่วนตำบล ด้านกระบวนการบริหารการศึกษา ในการเตรียมเป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านกระบวนการบริหารการศึกษา พบว่า ต้องการประชุมเชิงปฏิบัติการร้อยละ 56.10 ดำเนินการพัฒนาภายในจังหวัดร้อยละ 79.68 โดยมีกรมการปกครองเป็นผู้รับผิดชอบร้อยละ 73.99 ใช้เวลาที่เหมาะสม 2 วันร้อยละ 43.90 การจัดควรเป็นกลุ่มละ 50 คนร้อยละ 47.16 ใช้เวลาศึกษาดูงาน 1 วัน ร้อยละ 87.69 การศึกษาดูงานในโรงเรียนมีความจำเป็นต่อกระบวนการพัฒนาอยู่ในระดับมาก( = 4.61) และพบว่าความสนใจศึกษางานในโรงเรียนด้านต่างๆ 3 อันดับแรกตามลำดับ คือ งานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน งานกิจการนักเรียน และงานวิชาการ อยู่ในระดับร้อยละ 75.39 , 70.77 และ 67.69 ตามลำดับ