งานวิจัย : ผลการใช้รูปแบบ การเรียนแบบกลุ่มการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมกีฬาเพื่อพัฒนาสุขภาพทางกาย ในการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
โดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประกอบ กระแสโสม
 
บทคัดย่อ ภาษาไทย

   บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนแบบกลุ่มการเรียนรู้ ด้วยกิจกรรมกีฬาเพื่อพัฒนาสุขภาพทางกายต่อการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพตามการเรียนรู้ของผู้เรียน
ผลการวิจัย และ อภิปรายผล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มทดลองที่เรียนในรายวิชาการจัดการกิจกรรมกีฬาเพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ ตามลำดับดังนี้

การวิเคราะห์ปัญหา/แนวทางแก้ปัญหา
Plan ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ร่างรูปแบบการดำเนินการที่เน้นการแก้ปัญหา
สร้างเครื่องมือสะท้อนผลการแก้ปัญหา

ขั้นการวางแผน
1.การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา
1.1 สภาพปัญหาในการเรียนการสอนในรายวิชา
ช่วงต่อระหว่างวิชา ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆที่ต่อเชื่อมกับกิจกรรมการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาพลศึกษา นักเรียนจะมีพฤติกรรมต่างๆที่สังเกตได้ เช่น การรวมกลุ่มการเล่น ขาดการเตรียมตัว เตรียมความพร้อมของตนในการที่จะเรียนในวิชาต่อไป นักเรียนจะจับกลุ่มรวมกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมที่กลุ่มสนใจและชอบ ปฏิบัติอย่างนี้โดยสม่ำเสมอ เสียเวลาในช่วงต้นชั่วโมงไปประมาณ 10 – 15 นาที ทั้งยังนำ อุปกรณ์ในชนิดกีฬาที่ตนสนใจเตรียมมา พร้อมทุกครั้ง หรือแม้แต่การแยกปฏิบัติกิจกรรมในบทเรียนปกติ เมื่อเสร็จหรือมีเวลา นักเรียนจะนำอุปกรณ์เหล่านั้นที่เตรียมมา มารวมกลุ่มกันปฏิบัติกิจกรรมที่ตนสนใจเสมอ ๆ จนเป็นที่สังเกตได้ ผู้วิจัยจึงสุ่มผู้เรียนมาพูดคุย และพบว่าความต้องการของผู้เรียนคืออยากเรียนวิชาที่กลุ่มสนใจ แต่จากการเฝ้าสังเกต มีหลากหลายชนิดของการเล่น เช่น บางคนสนใจฟุตบอล บางคนสนใจบาสเกตบอล บางคนสนใจวอลเลย์บอล บางคนสนใจศิลปะการป้องกันตัว ซึ่งกลุ่มๆหนึ่งๆจะมีตั้งแต่ 5 – 6 คนขึ้นไปประเด็นปัญหาดังกล่าวทางกลุ่มสาระได้พูดคุยกันและเห็นว่า ควรที่จะส่งเสริมการแสดงออกของเด็กกลุ่มนี้
สภาพและแนวทางการแก้ปัญหา
ในแนวทางการส่งเสริมเบื้องต้นเสนอกันในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ว่า ควรเปิดวิชาเลือกของกลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษาขึ้นมารองรับ 1 วิชาก่อนและทำการศึกษาผลการใช้รูปแบบและหรือหารูปแบบการจัดกิจกรรมว่าน่าจะมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนอย่างไร จึงจะเหมาะสม เพราะในหนึ่งวิชา มีหลายกิจกรรม กลุ่มการเรียนจะมีมากขึ้น ผู้สอนมี ภาระงานมาก ชั่วโมงว่างไม่ตรงกัน เมื่อจัดตารางสอน จะส่งผลกระทบต่อตารางสอนรวมของโรงเรียน จึงต้องใช้ผู้สอนเพียงคนเดียวรับผิดชอบจะทำอย่างไรจึงจะดูแลหรือทำกิจกรรมให้ครอบคลุมทุกกลุ่มการเรียน
กลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษาถกปัญหาร่วมกันและวิเคราะห์รูปแบบการเรียนที่เป็นไปได้ที่จะจัดให้นักเรียนจึงสรุปแนวคิดมาเป็นหลักการการเรียนโดยมีหลักการดังนี้ 1.เปิดโอกาสให้ นักเรียนเลือกสิ่งที่ตนสนใจ ถนัด 2 นักเรียนเข้ากลุ่มตามความสนใจความถนัด 3.นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองจากการค้นคว้าแหล่งการเรียนรู้ 4.โรงเรียน โดยกลุ่มสาระสุขศึกษา พลศึกษา ต้องมีความพร้อมด้านสื่ออุปกรณ์การเรียนให้คลอบคลุมตามกลุ่มความสนใจของนักเรียน5.นักเรียนควรฝึกพัฒนาการจัดการการอุปกรณ์ สื่อ เวลา ในการวางแผนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนของตนเองของกลุ่มได้ 5.นักเรียนจะต้องประเมินสถานะ สภาพ บริบท ประสิทธิภาพ คุณภาพการปฏิบัติกิจกรรมและผล การเรียนรู้ของตนเองได้
ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สาระสุขศึกษาพลศึกษายังได้วิเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอน งานวิจัยต่างๆรวมทั้งของบุคลากรผู้สอนในกลุ่ม สาระสุขศึกษาพลศึกษา โดยการศึกษางานวิจัยที่แต่ละคนสนใจและที่ทำวิจัยผ่านมา ทางกลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษาเห็นควรประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยของ ผศ.ประกอบ กระแสโสม เรื่อง การร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้แผนกำหนดผลสัมฤทธิ์และการประเมินความก้าวหน้าในวิชาปฏิบัติ มาเป็นต้นแบบในการจัดกิจกรรมการเรียนโดยประยุกต์ใช้ให้เกิดความเหมาะสมโดยให้ดำเนินการ
2 ร่างรูปแบบการดำเนินการที่เน้นการแก้ปัญหา
จากการประชุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อยกร่างรูปแบบการดำเนินการที่เน้นการแก้ปัญหา ที่ประชุมได้ให้แต่ละคนนำเสนอ ซึ่งการนำเสนอได้ข้อสรุปจัดร่างรูปแบบแนวทางการแก้ปัญหาโดยมอบหมายให้ดำเนินการวิจัยการเรียนการสอนตามรูปแบบ โดยเน้นดำเนินการตามร่างในภาคการศึกษาต้น และเสนอผลการศึกษารูปแบบเมื่อสิ้นสุดการทดลองวิจัยรูปแบบการเรียนการสอน
ร่างแผนภูมิการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อใช้เป็น Model ในการเรียนการดำเนินการ ซึ่งพอสรุปเป็นขั้นตอนดังนี้
การปฐมนิเทศ เป็นการปฐมนิเทศกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาและเป็นการชี้แจงการเรียนของแต่ละรายวิชาให้ผู้เรียน นักเรียนได้รับทราบข้อมูลขั้นต้น ก่อนที่ผู้เรียนจะดำเนินการเลือกวิชาและลงทะเบียนในการเรียนโดยงานวิชาการของโรงเรียนรับผิดชอบเป็นแม่งานดำเนินการ ซึ่งในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษาได้เข้าร่วมในกิจกรรมนี้ด้วย
2.1 การปฐมนิเทศนักเรียนรายวิชาสาระสุขศึกษาพลศึกษา
ผู้วิจัยได้จัดให้มีการปฐมนิเทศนักเรียนขึ้นก่อนในสัปดาห์การเรียนการสอน สัปดาห์ที่ 1 โดยให้ความรู้และสร้างข้อตกลงเบื้องต้นกับนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอนในทุกรายวิชา ที่ห้องประชุม อาคาร 7 ปี ซึ่งมีอาจารย์ที่เปิดวิชาเพิ่มเติมได้อธิบายสาระการเรียนรู้และแนวทางข้อปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผลประเมินการเรียน โดยในกลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษาได้อธิบายแนวทางการเปิดรายวิชา การจัดการกิจกรรมกีฬาเพื่อการออกกำลังกาย และพัฒนาสุขภาพ โดยนำเสนอ
1.เสนอหลักสูตรรายวิชา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เวลาการเรียน การวัดผลประเมินผล กิจกรรมการเรียนการสอน หลักการและแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และนำเสนอแผนภูมิขั้นตอนการเรียนแก่นักเรียน โดยละเอียด
2. ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการจัดการกิจกรรมกีฬาเพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ มีนักเรียนสนใจลงทะเบียนเรียนทั้งสิ้น 25 คน
3.ผู้สอนให้ผู้เรียนเลือกกลุ่มความสนใจในแต่ละกลุ่มกิจกรรม ซึ่งมีนักเรียนเลือกที่จะใช้กิจกรรมทางกีฬามาพัฒนาสุขภาพตน อยู่ 5 ชนิดกีฬาประกอบด้วย บาสเกตบอล ฟุตบอล วอลเลย์บอล แบดมินตัน และศิลปะการป้องกันตัว
2.2 ขั้นตอนการเตรียมผู้เรียน
เป็นการอธิบาย ชี้แจงขั้นตอนต่างๆที่นักเรียนจะต้องเรียนรู้ก่อนการเข้าสู่กระบวนการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนและความจำเป็นของบริบทในการเรียน
ขั้นที่ 1 เตรียมกลุ่มการเรียน ให้นักเรียนจัดกลุ่มตามความสนใจในกิจกรรมที่อยากเรียน
ขั้นที่ 2 ปฐมนิเทศนักเรียน ประกอบด้วย
1.การใช้สื่อการเรียน 2.การเขียนแผน A M P (Achievement management plan) 3.ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมทางพลศึกษา 4.การจัดการอุปกรณ์ สื่อการเรียน เวลาเรียน สนาม 5. การประเมินตนเอง,กลุ่มการเรียน
ขั้นที่ 3 สร้างความพร้อมด้านการจัดการในการเรียนของผู้เรียน
1.สอนวิธีการใช้สื่อการเรียนการสอน 2.สอนวิธีการเขียนแผน A M P 3.สอนการจัดการเรื่องสื่ออุปกรณ์ เวลาเรียน สนาม 4.รูปแบบและวิธีการประเมินผลตนเองและกลุ่ม
ขั้นที่ 4 ขั้นทดลองปฏิบัติรูปแบบในการเรียนของนักเรียน
2.3 ขั้นตอนการดำเนินการด้านวิชาการ
กลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษา จึงดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้านวิชาการประกอบด้วย
1.ร่างหลักสูตรรายวิชา เอกสารประกอบการสอนในรายวิชา สื่อการเรียนการสอน
2.จัดทำโครงการ แผนการดำเนินงาน
3.ส่งหลักสูตรและโครงการ เพื่อขออนุมัติและขอเปิดรายวิชาเพิ่มเติม โดยเบื้องต้นเปิดให้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ใช้ชื่อวิชาว่า การจัดการกิจกรรมกีฬาเพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ
4.สร้างเครื่องมือ(สร้างเครื่องมือสะท้อนผลการแก้ปัญหา)
4.1 การสร้างหลักสูตรการเรียนการสอน
4.1.1.จัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น โดยนำหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการและหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น หน่วยการเรียน เวลา สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ศึกษาได้ในภาคผนวกท้ายเล่ม)
ตัวอย่าง มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
หน่วยการเรียน เล่นหลาย สำบาย มีแรง
เวลา 5 ชั่วโมง
สาระการเรียนรู้แกนกลาง : การเคลื่อนไหวการออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
สาระการเรียนรู้สถานศึกษา : การฝึกพัฒนาทักษะบุคคลของกีฬาแต่ละชนิดกีฬา


มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีรายภาค
ม.4 ม.5 ม.6
สาระ กีฬาสากล นักเรียนตระหนักเห็นความสำคัญในการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิตด้วยการจัดการกับกิจกรรมทางการกีฬาในการแสดงออกด้านการออกกำลังกาย และการพัฒนาสุขภาพตนเอง โดยใช้กีฬาเป็นสื่อ นักเรียนตระหนักเห็นความสำคัญในการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิตด้วยการจัดการกับกิจกรรมทางการกีฬาในการแสดงออกด้านการออกกำลังกาย และการพัฒนาสุขภาพตนเอง โดยใช้กีฬาเป็นสื่อ นักเรียนตระหนักเห็นความสำคัญในการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิตด้วยการจัดการกับกิจกรรมทางการกีฬาในการแสดงออกด้านการออกกำลังกาย และการพัฒนาสุขภาพตนเอง โดยใช้กีฬาเป็นสื่อ
4.1.2 .การจัดทำแผนการเรียน
1 การจัดทำแผนการเรียน ประกอบด้วย รหัสวิชา จำนวนหน่วยการเรียน จำนวนชั่วโมง สาระการเรียนรู้ภาคต้น ภาคปลาย ดังตัวอย่าง
รหัสวิชา จำนวนหน่วยการเรียน จำนวนชั่วโมง สาระการเรียนรู้ภาคต้น สาระการเรียนรู้ภาคปลาย
พ.3421 0.5 หน่วยการเรียน 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ การพัฒนาทักษะบุคคลสำหรับชนิดกีฬา การเล่นทีม กติกาและการแข่งขัน



4.1.3.จัดทำคำอธิบายรายวิชา
คำอธิบายรายวิชา การจัดการกิจกรรมกีฬาเพื่อพัฒนาการออกกำลังกายและสุขภาพ
ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนที่สนองความรู้ความสนใจ ความถนัดทางการเรียน การประเมินตนเอง รวมถึงการรู้จักกับการจัดการสาระการเรียนรู้ แผนการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์ ระยะเวลา โดยใช้กิจกรรมทางกีฬาเป็นสื่อในการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพตนโดยนำหลักการ วิธีการทางพลศึกษามาปฏิบัติจนเกิดเป็นทักษะ สมรรถภาพทางกาย ระเบียบวินัย เห็นคุณค่าและนำไปปฏิบัติประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
4.1.4 การวัดผลประเมินผล
หลักการ : การวัดผลประเมินผลพิจารณาจากพัฒนาการผู้เรียน ความประพฤติ พฤติกรรมการเรียน
การร่วมกิจกรรมและทดสอบควบคู่กันไป ก่อนตัดสินใจให้ระดับผลการเรียน โดยคำนึงถึงหลักการต่อไปนี้
1.เน้นกระบวนการเพื่อพัฒนาผู้เรียนและประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนควบคุมทั้ง ด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และ การบูรณาการ ตามความเหมาะสม
2.เน้นการประเมินด้วยวิธีที่หลากหลาย สอดคล้องกับกระบวนการเรียนที่จัดให้ผู้เรียนหรือใกล้เคียงกับสถานการณ์ที่เป็นจริงสะท้อนความสามารถการแสดงออกของผู้เรียนอย่างชัดเจน
3.เน้นการบูรณาการการประเมินควบคู่ไปกับการเรียนการสอน ประเมินจากคุณภาพและกระบวนการทำงานของผู้เรียน
4.เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
สิ่งที่ต้องการเน้น
1.ด้านความรู้ ความรู้เชิงสาระ ความรู้เชิงกระบวนการ ความรู้เชิงบริบท
2.ด้านทักษะ กระบวนการ ผลงาน
3.ด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์

4.2 วิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การสังเกตพฤติกรรมและความสามารถในการปฏิบัติ ใช้การสังเกตผลการเรียนรู้ ออกมาเป็นจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมแล้วบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
การทดสอบ การทดสอบความสามารถในการปฏิบัติด้วยแบบทดสอบต่างๆ
การวัด เช่น เจตคติ ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม บุคลิกภาพ การปรับตัว ด้วยแบบวัดแบบต่างๆ
การสัมภาษณ์ แบบไม่เป็นทางการเพื่อทราบข้อมูลทั่วๆไป เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจ
การสำรวจ เช่น แบบสอบถามข้อมูลต่างๆ เช่น ความรู้สึก ความคิดเห็น ความประทับใจ
แฟ้มพัฒนางาน แฟ้มผลงาน เป็นแหล่งรวบรวมผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการวัดที่หลากหลาย
ผลการดำเนินการในด้านวิชาการ ทางด้านคณะกรรมการฝ่ายวิชาการมีมติให้ดำเนินการเปิดสอนในรายวิชาดังกล่าวได้ และอนุมัติให้ดำเนินการตามรูปแบบการวิจัยได้ พร้อมทั้งจัดสรรสื่อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆรวมทั้งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนอย่างดี ส่วนการพิจารณาหลักสูตรรายวิชา ก็ผ่านตามขั้นตอนจนสามารถดำเนินการจัดพิมพ์ จัดทำรูปเล่มและพร้อมใช้ ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยได้รับความช่วยเหลืออย่างดีจากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะอาจารย์ บุคลากรในหมวด และคณะกรรมการฝ่ายวิชาการของโรงเรียน




3.ดำเนินการปฏิบัติการสอนตามรูปแบบที่ได้พัฒนา(Action)

กระบวนการของการปฏิบัติและผลของการปฏิบัติ
โดยใช้เครื่องมือและเทคนิคการรวบรวมข้อมูล

ผลการใช้หลักสูตร
1.ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
นำเสนอหลักสูตรฉบับร่างต่อผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์ในหมวดและนำเสนอต่อคณะกรรมการวิชาการ มีความคิดเห็นดังแสดงในตาราง
ตารางที่ 1. ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อหลักสูตรการเรียนรายวิชาการจัดการกิจกรรมกีฬาเพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ


ผู้เชี่ยวชาญ
รายการ
คนที่ 1
คนที่ 2
คนที่ 3
ความเห็นคณะกรรมการวิชาการ
ผลการเรียนที่คาดหวัง สอดคล้องกับหลักสูตรแกนและหลักสูตรสถานศึกษา มีความเชื่อมโยงสอดคล้องตาม พระราชบัญญัติการศึกษา มีความเหมาะสมและลงตัว นำมาเชื่อมโยงทั้งต่อหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรกลุ่มสาระได้ดี เหมาะสม
สาระการเรียนรู้ ชัดเจนตรงความสนใจนักเรียน ครอบคลุมตามหลักสูตร ตรงความสนใจความถนัดผู้เรียน ครอบคลุมตามหลักสูตรกลุ่มสาระและแกนกลาง
การจัดหน่วยการเรียนรู้ แยกแยะสอดคล้องเป็น
ไปตามบริบทของหลักสูตร เหมาะสมตามวัยผู้เรียน เหมาะสมสอดคล้อง แยกแยะสาระมาจัดเป็นกลุ่ม ประมวลสาระมาจัดเป็นหน่วยการเรียนได้เหมาะสม
กิจกรรมการเรียน รูปแบบมีความเป็นไปได้ในการจัดการเรียนและมีความเหมาะสม เหมาะสมสอดคล้อง รูปแบบกิจกรรมเหมาะสมและเอื้อต่อผู้เรียนมาก เป็นรูปแบบที่พัฒนาเป็นต้นแบบได้และมีความเหมาะสม
การวัดผลประเมินผล สอดคล้องเหมาะสม เน้นการประเมินสภาพจริงได้ดี สอดคล้องเหมาะสม สอดคล้องสภาพบริบท และสาระกิจกรรม “ดี”

จากตารางที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญและคณะกรรมการวิชาการของโรงเรียน มีความเห็นว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมที่จะใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมได้ “ดี”
5.ขั้นสังเกตและสะท้อนผล( Observation )
ผลสะท้อนของรูปแบบ Model การเรียนการสอน
ผู้สอนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้เวลาจัดกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้ละ 1 ชั่วโมง จึงจบกระบวนการ
ขั้นที่ 1 เตรียมกลุ่มการเรียน ให้นักเรียนจัดกลุ่มตามความสนใจในกิจกรรมที่อยากเรียน นักเรียนจะแยกตามกลุ่มการเรียนตามชนิดกีฬาที่สนใจ จะพบบางชนิดกีฬาจะมีการรวมกลุ่มมาก บางชนิดกีฬาจะน้อย ปัญหา ก็คือกีฬาประเภททีมคนไม่พอที่จะเล่นทีมเมื่อจัดการแข่งขัน ซึ่งในช่วงวิจัยพบกับชนิดกีฬาฟุตบอล เพราะมีนักเรียนเลือกเพียง 5 คน ซึ่งทำให้ต้องปรับการเรียนมาเป็นฟุตบอล 5 คน เมื่อแยกกลุ่มการเรียนได้ 5 กลุ่มการเรียน จำนวน 5 ชนิดกีฬาอันประกอบด้วย 1)เทควันโด 2)แบดมินตัน 3)บาสเกตบอล 4)วอลเลย์บอล และ 5)ฟุตซอล การเลือกกลุ่มเข้าเรียนตามชนิดกีฬาจากการสอบถามพูดคุยกับนักเรียนมีประเด็นการเลือกกลุ่มคือ 1)ชอบที่จะเรียนชนิดกีฬานั้นจริง 2)เพื่อนชักชวนแนะนำให้เลือก 3)ความสนิทสนมส่วนตัว 4)ต้องการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถในกีฬาที่ไม่เคยเล่น 5)ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อน 6)ต้องการพัฒนากีฬาที่ตนชอบให้ตนเองมีความสามารถเพิ่มมากขึ้น แต่ที่น่าสนใจคือกลุ่มที่เข้ามาเรียนมีความตั้งใจที่จะเรียนในชนิดกีฬาที่เลือกร้อยละ 90 ซึ่งน่าจะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ความถนัดในการเรียนรายวิชาหนึ่งที่ สนับสนุนความถนัด ความชอบ อันเป็นการเอื้อต่อผู้เรียนและสอดคล้องกับกระทรวงศึกษาธิการที่เน้นเห็นความสำคัญของผู้เรียนนั้นคือโรงเรียนสถานศึกษาเปิดวิชาครอบคลุมความต้องการของผู้เรียน

ขั้นที่ 2 ปฐมนิเทศ ผู้วิจัยได้ดำเนินการแจ้งข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน ให้นักเรียนเข้าใจบริบทก่อนที่จะเลือกลงทะเบียนเรียนวิชานี้ เช่น
1.การใช้สื่อการเรียน นักเรียนจะทำอย่างไร 2.การเขียนแผน A M P (Achievement management plan) เขียนอย่างไร เอามาใช้อย่างไร 3.ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมทางพลศึกษา บอกแนวทางขั้นตอนการเรียนลำดับขั้นการเรียน 4.การจัดการอุปกรณ์ สื่อการเรียน เวลาเรียน สนาม ทำอย่างไร เริ่มอย่างไร เก็บอย่างไร 5. การประเมินตนเอง,กลุ่มการเรียน สอนเทคนิควิธีการตรวจสอบผลการเรียน ผลการปฏิบัติการเรียนการฝึก ชี้วัดตนเองทั้ง 5 ประเด็นโดยสรุป นักเรียนได้รับทราบข้อมูลพื้นฐานและมีความพร้อมที่ยืนยันได้ว่าสามารถเรียนและปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ผู้สอนปฐมนิเทศได้

ขั้นที่ 3 สร้างความพร้อมของผู้เรียน
1.สอนวิธีการใช้สื่อการเรียนการสอน 2.สอนวิธีการเขียนแผน A M P 3.สอนการจัดการเรื่องสื่ออุปกรณ์ เวลาเรียน สนาม 4.รูปแบบและวิธีการประเมินผลตนเองและกลุ่ม สรุปได้ดังนี้
การเขียนแผนกำหนดผลสัมฤทธิ์ บริบทที่พบ นักเรียนจะใช้เวลาร่วมๆ 2 ชั่วโมงโดยเฉลี่ยฉะนั้นกิจกรรมการเรียนจึงให้นักเรียนมีเวลาในการศึกษาค้นคว้า เอกสาร สื่อการเรียนต่างๆแล้วมาประมวลร่วมกันเขียน จากการค้นคว้าการเรียนรู้ในลักษณะนี้ คาบแรกๆสื่อการเรียนมีปัญหาคือมีน้อย ผู้สอนและนักเรียนจึงได้ดำเนินการจัดหาเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆมาแก้ปัญหา ทำให้การศึกษาค้นคว้าในคาบเรียนทำได้สะดวกขึ้น สอนแนวทางวิธีการจัดสนาม อุปกรณ์ในการฝึกปฏิบัติ อุปกรณ์กี่ชิ้น คนกี่คน สนามกับแบบฝึกที่สร้างขึ้น ทำอย่างไรจึงจะเหมาะสม สอนการใช้กรวย การใช้มาคเกอร์ รั่วกระโดด เบาะ การจัดเบาะ ความปลอดภัยของอุปกรณ์ การทำความสะอาดอุปกรณ์ การจัดเก็บ ห่วง ลูกบอล ลูกบาสเกตบอล ตาข่ายวอลเลย์ ความปลอดภัยในการเล่น แนะนำเทคนิคการประเมิน การสร้างเกณฑ์การประเมิน การเขียนแบบฟอร์มการสังเกต การประเมินค่าความสามารถของกลุ่ม ของตน ซึ่งเรียกว่า เทคนิคการประเมิน ซึ่งแต่ละแผนกำหนดผลสัมฤทธิ์นักเรียนสามารถดำเนินการแล้วเสร็จในแต่ละแผนฯภายใน 2 ชั่วโมงต่อแผน และสรุปรวบรวมนำส่ง หลังจากนั้นผู้สอนจะแก้ไข เสนอแนะ ปรับปรุงและร่วมพัฒนา และส่งกลับสู่นักเรียน นักเรียนจะนำกลับมาสู่การปฏิบัติในคาบถัดไป การดำเนินการในขั้นนี้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้มีความพร้อมหลังที่ผู้สอนเตรียมให้ค่อนข้างมาก และเมื่อสุ่มถามแต่ละกลุ่มก็สามารถให้ข้อมูลสารสนเทศทางวิชาการได้สมบูรณ์ ทั้งหัวข้อการเรียน สาระการเรียน จุดประสงค์ในแบบฝึก วิธีฝึก การเตรียมสนามอุปกรณ์ การฝึกและการประเมิน ซึ่งแสดงถึงความพร้อมที่จะเรียนในรายวิชานี้
ขั้นที่ 4 ขั้นทดลองปฏิบัติรูปแบบการเรียน
เป็นขั้นการเชื่อมโยงแผน A M P สู่กระบวนการเรียนรู้ ซึ่งผู้ช่วยวิจัยร่วมกันสังเกตและสรุปเป็นขั้นตอนของกิจกรรมเป็น 3 ขั้นคือ ขั้นเตรียม ขั้นปฏิบัติสาระกิจกรรม ขั้นสรุปสาระกิจกรรม
ขั้นเตรียม นักเรียนจะร่วมกลุ่มกันศึกษาแผนของตนเองจนชัดเจน และสร้างความพร้อมทางกายโดยการการยืดกล้ามเนื้อ การบริหารกาย ซึ่งเฉลี่ยการใช้เวลาทำการศึกษา 10 นาที และปฏิบัติกิจกรรมในขั้นนำ 15 นาที ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีจุดเน้นแตกต่างกันไปตามชนิดกีฬา ขั้นนี้นักเรียนจะมีการพูดคุย ซักถามความเข้าใจและแสดงท่าทางบอกกันและกันถึงแนวทางในการปฏิบัติ บริบทของกิจกรรมในขั้นนี้ และจะเริ่มปฏิบัติตามแผนทันที สรุป ในขั้นนี้เป็นการเตรียมในเรื่อง การทบทวนศึกษาแผนที่จัดทำ รายละเอียดการฝึกสาระกิจกรรม การสร้างความพร้อมทางกายก่อนการปฏิบัติการฝึก นักเรียนจะร่วมกลุ่มกันศึกษา และแยกไปตามสนามที่จัดไว้สำหรับการเรียน
ขั้นปฏิบัติสาระกิจกรรม เป็นขั้นที่นักเรียนกลับมาดูมาศึกษาแผนอีกครั้งเพื่อดูลำดับขั้นการฝึก ทุกกลุ่มจะเน้นเรื่องทักษะพื้นฐาน เทคนิคที่นักเรียนใช้ มักจะเป็นเพื่อนบอกเพื่อน เพื่อนแนะนำเพื่อน ซึ่งการฝึกกลุ่มอื่นๆ ดำเนินไปได้ด้วยดี จะมีปัญหากับนักเรียนหญิงที่เรียนเทควันโดอยู่บ้างในคาบแรกเพราะห่วงเรื่องความปลอดภัยการลงสู่เบาะนักเรียนยังไม่เข้าใจดีพอ ผู้วิจัยจึงแก้ปัญหาด้วยการไปเปิด วี ซี ดี การฝึกเทควันโดและกลับมาสาธิตให้ดู พร้อมฝึกนักเรียนกลุ่มดังกล่าวจนสามารถปฏิบัติได้จึงให้เริ่ม กิจกรรมอื่นได้ โดยรวม นักเรียนจะปฏิบัติตามขั้นตอน วิธีฝึก ที่เขียนไว้ในแผนฯและปฏิบัติได้ค่อนข้างตรงกับที่เขียน บางกลุ่มใช้เวลามาก บางกลุ่มน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทของเนื้อหาสาระที่เขียนไว้ โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 50 นาทีขึ้นไป
ขั้นสรุปสาระกิจกรรม ขั้นนี้ทุกกลุ่มจะเน้นการประเมินตามแบบประเมินที่เขียนไว้ในขั้นเทคนิคการประเมินในแผนฯซึ่งมีวิธีการหลายรูปแบบ เช่น การให้นำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมโดยให้ประเมินตนเองว่าอยู่ในระดับใด ดี ปานกลาง ปรับปรุง ,บางกลุ่มก็ใช้ การอ่านข้อความในแบบประเมินแล้วให้ตีค่าเป็นระดับการประเมินว่า อยู่ในระดับใด เช่น 4 3 2 1 หรือบางกลุ่มก็ให้เขียนลงในกระดาษการประเมินแล้วนำมาอ่านสรุปผลให้กันฟัง (ในกลุ่มนี้ผู้นำกลุ่มจะแจกกระดาษให้แล้วจะถามว่า เพื่อนคนนี้ใครให้ผลการประเมินระดับใด แล้วสรุปรวม หาค่าเฉลี่ยของผลการประเมินเสร็จแล้วบันทึกลงในแบบบันทึกผลการประเมิน)
จากผลการสังเกตแนวทางข้างต้นผู้ช่วยวิจัย ผู้วิจัยรวบรวมข้อเสนอแนะเอาไว้ดังนี้ แผนควรเพิ่มข้อสำคัญในการฝึกลงไปด้วย ซึ่งจะเป็นจุดเน้นที่จะปฏิบัติได้ถูกต้องเช่น ทักษะการส่งรับบอล
ที่ขาดคือ การเรียกบอลจากเพื่อน การสัมผัสบอลแล้วสามารถส่งได้เลย ความแม่นยำในการส่ง
ด้านรูปแบบของ Model เป็นรูปแบบการเรียนที่ทุกคนมีส่วนร่วม ทำงานเป็นทีม เป็นกลุ่ม รับผิดชอบร่วมกัน และการเรียนมีความเป็นอิสระ สนุก ไม่วิตกกังวล นักเรียนมีความสุขมาก เมื่อสิ้นภาคการศึกษาได้พูดคุยกับนักเรียน นักเรียนบอกชอบกิจกรรมการเรียนแบบนี้มาก เพราะได้ใช้ความสามารถออกแบบและทราบผลิตผลทราบบริบทการร่วมกันทำงาน ทำให้เห็นศักยภาพของตนของเพื่อน อุปนิสัย การเรียนรู้กันในกลุ่ม การมีเวลาอยู่ด้วยกันในการวางแผนงาน ทำตามแผน และสรุปแผน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงได้
สรุปผลการวิจัย
MODEL ในการเรียนการสอนเป็นรูปแบบที่สามารถใช้ปฏิบัติการเรียนการสอน ที่ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถ ความสนใจ ความถนัด สอดคล้องเป็นไปตามการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นไปตามทิศทางและแนวทางในการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาของชาติที่ต้องการให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าสาระสนเทศทางวิชาการด้วยการศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเอง รูปแบบยังมีจุดเด่นที่สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ปรับใช้ในในชีวิตประจำวัน ดังสรุปผลการวิจัยดังนี้
ด้านผู้สอน ต้องเตรียมการดังนี้
ขั้นที่ 1 เตรียมกลุ่มการเรียน ให้นักเรียนจัดกลุ่มตามความสนใจในกิจกรรมที่อยากเรียน
ขั้นที่ 2 ปฐมนิเทศ ประกอบด้วย
1.การใช้สื่อการเรียน 2.การเขียนแผน A M P (Achievement management plan) 3.ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมทางพลศึกษา 4.การจัดการอุปกรณ์ สื่อการเรียน เวลาเรียน สนาม 5. การประเมินตนเอง,กลุ่มการเรียน
ขั้นที่ 3 สร้างความพร้อมของผู้เรียน
1.สอนวิธีการใช้สื่อการเรียนการสอน 2.สอนวิธีการเขียนแผน A M P 3.สอนการจัดการเรื่องสื่ออุปกรณ์ เวลาเรียน สนาม 4.รูปแบบและวิธีการประเมินผลตนเองและกลุ่ม
ขั้นที่ 4 ขั้นทดลองปฏิบัติรูปแบบการเรียน
กลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษา จึงดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้านวิชาการประกอบด้วย
1.ร่างหลักสูตรรายวิชา เอกสารประกอบการสอนในรายวิชา
2.จัดทำโครงการ แผนการดำเนินงาน
3.ส่งหลักสูตรและโครงการ เพื่อขออนุมัติและขอเปิดรายวิชาเพิ่มเติม โดยเบื้องต้นเปิดให้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ใช้ชื่อวิชาว่า การจัดการกิจกรรมกีฬาเพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ”
ด้านนักเรียน(ผู้เรียน)
ขั้นเตรียม นักเรียนจะร่วมกลุ่มกันเขียนแผนฯ ส่งแผนกับผู้สอน นำมาปรับปรุง
ศึกษาแผนของตนเองจนชัดเจน ขั้นเรียน เริ่มตามขั้นตอนตามแผนฯ โดยสร้างความพร้อมทางกายโดยการการยืดกล้ามเนื้อ การบริหารกาย ซึ่งเฉลี่ยการใช้เวลาทำการศึกษา 10 นาที และปฏิบัติกิจกรรมในขั้นนำ 15 นาที ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีจุดเน้นแตกต่างกันไปตามชนิดกีฬา ขั้นนี้นักเรียนจะมีการพูดคุย ซักถามความเข้าใจและแสดงท่าทางบอกกันและกันถึงแนวทางในการปฏิบัติ บริบทของกิจกรรมในขั้นนี้ และจะเริ่มปฏิบัติตามแผนทันที สรุป ในขั้นนี้เป็นการเตรียมในเรื่อง การทบทวนศึกษาแผนที่จัดทำ รายละเอียดการฝึกสาระกิจกรรม การสร้างความพร้อมทางกายก่อนการปฏิบัติการฝึก นักเรียนจะร่วมกลุ่มกันศึกษา และแยกไปตามสนามที่จัดไว้สำหรับการเรียน
ขั้นปฏิบัติสาระกิจกรรม เป็นขั้นที่นักเรียนกลับมาดูมาศึกษาแผนอีกครั้งเพื่อดูลำดับขั้นการฝึก ทุกกลุ่มจะเน้นเรื่องทักษะพื้นฐาน เทคนิคที่นักเรียนใช้ มักจะเป็นเพื่อนบอกเพื่อน เพื่อนแนะนำเพื่อน นักเรียนจะปฏิบัติตามขั้นตอน วิธีฝึก ที่เขียนไว้ในแผนฯและปฏิบัติได้ค่อนข้างตรงกับที่เขียน บางกลุ่มใช้เวลามาก บางกลุ่มน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทของเนื้อหาสาระที่เขียนไว้ โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 50 นาทีขึ้นไป
ขั้นสรุปสาระกิจกรรม ขั้นนี้ทุกกลุ่มจะเน้นการประเมินตามแบบประเมินที่เขียนไว้ในขั้นเทคนิคการประเมินในแผนฯซึ่งมีวิธีการหลายรูปแบบ เช่น การให้นำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมโดยให้ประเมินตนเองว่าอยู่ในระดับใด ดี ปานกลาง ปรับปรุง ,บางกลุ่มก็ใช้ การอ่านข้อความในแบบประเมินแล้วให้ตีค่าเป็นระดับการประเมินว่า อยู่ในระดับใด เช่น 4 3 2 1 หรือบางกลุ่มก็ให้เขียนลงในกระดาษการประเมินแล้วนำมาอ่านสรุปผลให้กันฟัง (ในกลุ่มนี้ผู้นำกลุ่มจะแจกกระดาษให้แล้วจะถามว่า เพื่อนคนนี้ใครให้ผลการประเมินระดับใด แล้วสรุปรวม หาค่าเฉลี่ยของผลการประเมินเสร็จแล้วบันทึกลงในแบบบันทึกผลการประเมิน)
ข้อเสนอแนะในการวิจัย
แผนควรมีข้อสำคัญหรือจุดเน้นในการฝึก การจัดการด้านสนามเขียนแยกให้ชัดเจน จะทำให้กิจกรรมในแผนชัดเจนขึ้น
ข้อเสนอแนะทั่วไป
ควรนำไปทดลองใช้กับนักเรียนในระดับชั้นอื่นๆหรือนักศึกษาทั่วไปเพื่อประเมินรูปแบบและนำมาเป็นวิธีการเรียนการสอนอีกหนึ่งรูปแบบต่อไป





ความเป็นมา
ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติทางการศึกษาที่เน้นให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนเองโดยมีหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลักสูตรนำร่อง เน้นการเรียนการสอนที่ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ยึดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และหนึ่งในปรัชญาของการปฏิรูปทางการศึกษาคือการจัดกิจกรรม ตามสาระหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความสอดคล้องและเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติการศึกษากำหนด โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น มอดินแดงได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดทำหลักสูตร สถานศึกษา ที่อิงหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ และหนึ่งในปัญหาการใช้หลักสูตรก็คือ การจัดรายวิชาที่ตอบสนอง ความต้องการ ความถนัด ความสนใจของผู้เรียน ซึ่งถือว่ามีความสำคัญและจำเป็น ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา พบว่าในการเรียนการสอน คือ การจัดรายวิชายังไม่หลากหลายพอ เนื่องจากสภาพผู้สอนมีจำกัดส่งผลต่อความต้องการ ความถนัด ความสนใจของผู้เรียน เมื่อเข้ามาเรียนในสิ่งที่ตนเองไม่สนใจ จึงทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อกิจกรรมการเรียน ไม่กระตือรือร้น ในการเรียนเท่าที่ควร สังเกตจากการเตรียมความพร้อม ของนักเรียนในการที่จะเรียน 1.เข้าเรียนช้า 2.ในระหว่างช่วงต่อของแต่ละรายวิชา นักเรียนจะรวมกลุ่มเล่นกีฬาที่ชอบเสมอ ทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ 3.ขณะเรียน เมื่อต้องแยกฝึกปฏิบัตินักเรียนจะไม่มีความเข้มข้นในการพัฒนาการปฏิบัติของตนเอง 4. มักสนใจนำอุปกรณ์อื่นที่ไม่ใช่อุปกรณ์ในการเรียนของรายวิชานั้นมาเตรียมไว้ พอแยกฝึกเมื่อไร มักจะนำออกมาเล่นจนเป็นที่สังเกตได้ในทุกวิชา ทางกลุ่มสาระได้พูดคุยกันถึงพฤติกรรมของผู้เรียนและเห็นว่า นักเรียนกลุ่มดังกล่าวมีอยู่ในทุกระดับชั้น มีความสนใจที่แตกต่างกันไป การที่ผู้เรียน นักเรียนสนใจเป็นสิ่งที่ดี ควรที่จะตอบสนองความสนใจ ความต้องการเหล่านี้ให้แก่เขา ในแนวทางที่จะส่งเสริมการแสดงออกของเด็กกลุ่มนี้ก็คือ การเปิดวิชาเลือกของกลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษาขึ้นมารองรับ 1 วิชาก่อนและทำการศึกษาผลการใช้รูปแบบและหรือหารูปแบบการจัดกิจกรรมว่าน่าจะมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนอย่างไร จึงจะเหมาะสม โดยเน้นในหนึ่งวิชาควรมีกิจกรรม หลายกิจกรรม เพียงพอที่ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนได้ ปัญหาคือในหนึ่งรายวิชาจะมี กลุ่มการเรียนมากขึ้น ผู้สอน 1 คน ต้องรับผิดชอบ การสอน ดูแล ควบคุมให้ครอบคลุมทั้งชั้นจะทำอย่างไรจึงจะดูแลหรือทำกิจกรรมให้ครอบคลุมทุกกลุ่มการเรียน ควรจะมีการจัดรูปแบบการเรียนอย่างไร
กลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษาถกปัญหาร่วมกันและวิเคราะห์รูปแบบการเรียนที่เป็นไปได้ที่จะจัดให้นักเรียนโดยสรุปแนวคิดหลักการการเรียนโดยมีหลักการดังนี้ 1.เปิดโอกาสให้ นักเรียนเลือกสิ่งที่ตนสนใจ ถนัด 2 นักเรียนเข้ากลุ่มตามความสนใจความถนัด 3.นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองจากการค้นคว้าแหล่งการเรียนรู้ 4.โรงเรียน โดยกลุ่มสาระสุขศึกษา พลศึกษา ต้องมีความพร้อมด้านสื่ออุปกรณ์การเรียนให้คลอบคลุมตามกลุ่มความสนใจของนักเรียน5.นักเรียนควรฝึกพัฒนาการจัดการ อุปกรณ์ สื่อ เวลา ในการวางแผนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนของตนเองของกลุ่มได้ 5.นักเรียนจะต้องประเมินสถานะ สภาพ บริบท ประสิทธิภาพ คุณภาพการปฏิบัติกิจกรรมและผล การเรียนรู้ของตนเองได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้สาระสุขศึกษาพลศึกษายังได้วิเคราะห์ถึงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนงานวิจัยต่างๆรวมทั้ง ของบุคลากรผู้สอนในกลุ่ม สาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา โดยการศึกษางานวิจัยที่แต่ละคนสนใจและที่ทำวิจัยผ่านมา ทางกลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษาเห็นควรประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยของ ผศ.ประกอบ กระแสโสม เรื่อง การร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้แผนกำหนดผลสัมฤทธิ์และการประเมินความก้าวหน้าในวิชาปฏิบัติ มาเป็นต้นแบบในการจัดกิจกรรมการเรียนโดยประยุกต์ใช้ให้เกิดความเหมาะสมโดยให้ดำเนินการ ร่างแผนภูมิการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อใช้เป็น Model ในการเรียนการสอน (ดูในภาคผนวกท้ายเล่ม) และสรุปร่างเป็นขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
ขั้นที่ 1 เตรียมกลุ่มการเรียน ให้นักเรียนจัดกลุ่มตามความสนใจในกิจกรรมที่อยากเรียน
ขั้นที่ 2 ปฐมนิเทศ ประกอบด้วย
1.การใช้สื่อการเรียน 2.การเขียนแผน A M P (Achievement management plan) 3.ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมทางพลศึกษา 4.การจัดการอุปกรณ์ สื่อการเรียน เวลาเรียน สนาม 5. การประเมินตนเอง,กลุ่มการเรียน
ขั้นที่ 3 สร้างความพร้อมของผู้เรียน
1.สอนวิธีการใช้สื่อการเรียนการสอน 2.สอนวิธีการเขียนแผน A M P 3.สอนการจัดการเรื่องสื่ออุปกรณ์ เวลาเรียน สนาม 4.รูปแบบและวิธีการประเมินผลตนเองและกลุ่ม
ขั้นที่ 4 ขั้นทดลองปฏิบัติรูปแบบการเรียน
กลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษา จึงดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้านวิชาการประกอบด้วย
1.ร่างหลักสูตรรายวิชา เอกสารประกอบการสอนในรายวิชา สื่อการเรียนการสอน
2.จัดทำโครงการ แผนการดำเนินงาน
3.ส่งหลักสูตรและโครงการ เพื่อขออนุมัติและขอเปิดรายวิชาเพิ่มเติม โดยเบื้องต้นเปิดให้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ใช้ชื่อวิชาว่า การจัดการกิจกรรมกีฬาเพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนแบบกลุ่มการเรียนรู้ในการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพตามการเรียนรู้ของผู้เรียน
ประชากร
เป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น มอดินแดง ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 จำนวน 25 คน
กลุ่มตัวอย่าง
ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง เป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น มอดินแดง ที่เรียนในวิชาการจัดการกิจกรรมกีฬาเพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 25 คน
วิธีดำเนินการวิจัย
ก.ขั้นวางแผน (Plan)
1.เป็นการสำรวจปัญหาสำคัญที่ต้องการให้มีการแก้ไขโดยผู้เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้ทำการวิจัย ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา ปรึกษาร่วมกันโดยใช้วิธีการหาแนวคิดที่เกี่ยวข้องปัญหา(Thematic Concem)พบว่า “ปัจจุบันการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แต่การเรียนการสอนยังไม่สามารถตอบสนองต่อความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน โดยกิจกรรมในรายวิชาจะถูกกำหนดโดยผู้สอน ซึ่งไม่สนองต่อความต้องการของผู้เรียน นักเรียนขาดความสนใจในกิจกรรมการเรียน และ การเรียนปกติยังไม่ส่งเสริมการค้นคว้าข้อมูลสารสนเทศทางวิชาการแก่ผู้เรียน อีกทั้งสังคมปัจจุบันเน้นเป็นสังคมที่เอื้อให้ชุมชน สร้างความเข้มแข็งเป็นแบบการมีส่วนร่วม ผู้เรียนน่าจะได้พัฒนาตนเองเช่นนั้นเหมือนกัน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองตามศักยภาพที่เขามี เขาถนัด เขาสนใจ โดยเฉพาะในรายวิชาที่เขาเรียน กิจกรรมต้องเปิดกว้างให้ผู้เรียนมีโอกาสเลือกกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสนองต่อความสนใจ และผู้สอนเองต้องตระหนักและจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปและสอดคล้องตามบริบทแผนพัฒนาการศึกษาของชาติและรัฐธรรมนูญการศึกษาปัจจุบัน โดยทางกลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษาเสนอทางออกด้านการเรียนการสอนของในแต่ละรายวิชาของกลุ่มสาระเอง ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนและ การค้นคว้านวัตกรรมการเรียนการสอน ให้สนองต่อปัญหาข้างต้น โดยกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาดังที่กล่าวไว้ในความเป็นมาความสำคัญของปัญหาการวิจัยสรุปได้ว่าการจัดรายวิชายังไม่หลากหลายพอ เนื่องจากสภาพผู้สอนมีจำกัดส่งผลต่อความต้องการ ความถนัด ความสนใจของผู้เรียน เมื่อเข้ามาเรียนในสิ่งที่ตนเองไม่สนใจ จึงทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อกิจกรรมการเรียน ไม่กระตือรือร้น ในการเรียนเท่าที่ควร สังเกตจากการเตรียมความพร้อม ของนักเรียนในการที่จะเรียน 1.เข้าเรียนช้า 2.ในระหว่างช่วงต่อของแต่ละรายวิชา นักเรียนจะรวมกลุ่มเล่นกีฬาที่ชอบเสมอ ทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ 3.ขณะเรียน เมื่อต้องแยกฝึกปฏิบัตินักเรียนจะไม่มีความเข้มข้นในการพัฒนาการปฏิบัติของตนเอง 4. มักสนใจนำอุปกรณ์อื่นที่ไม่ใช่อุปกรณ์ในการเรียนของรายวิชานั้นมาเตรียมไว้ พอแยกฝึกเมื่อไร มักจะนำออกมาเล่นจนเป็นที่สังเกตได้ในทุกวิชา ทางกลุ่มสาระได้พูดคุยกันถึงพฤติกรรมของผู้เรียนและเห็นว่า นักเรียนกลุ่มดังกล่าวมีอยู่ในทุกระดับชั้น มีความสนใจที่แตกต่างกันไป การที่ผู้เรียน นักเรียนสนใจเป็นสิ่งที่ดี ควรที่จะตอบสนองความสนใจ ความต้องการเหล่านี้ให้แก่เขา ในแนวทางที่จะส่งเสริมการแสดงออกของเด็กกลุ่มนี้ก็คือ การเปิดวิชาเลือกของกลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษาขึ้นมารองรับ 1 วิชาก่อนและทำการศึกษาผลการใช้รูปแบบและหรือหารูปแบบการจัดกิจกรรมว่าน่าจะมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนอย่างไร จึงจะเหมาะสม โดยเน้นในหนึ่งวิชาควรมีกิจกรรม หลายกิจกรรม เพียงพอที่ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนได้ ปัญหาคือในหนึ่งรายวิชาจะมี กลุ่มการเรียนมากขึ้น ผู้สอน 1 คน ต้องรับผิดชอบ การสอน ดูแล ควบคุมให้ครอบคลุมทั้งชั้นจะทำอย่างไรจึงจะดูแลหรือทำกิจกรรมให้ครอบคลุมทุกกลุ่มการเรียน ควรจะมีการจัดรูปแบบการเรียนอย่างไร
กลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษาถกปัญหาร่วมกันและวิเคราะห์รูปแบบการเรียนที่เป็นไปได้ที่จะจัดให้นักเรียนจึงสรุปแนวคิดมาเป็นหลักการการเรียนโดยมีหลักการดังนี้ 1.เปิดโอกาสให้ นักเรียนเลือกสิ่งที่ตนสนใจ ถนัด 2 นักเรียนเข้ากลุ่มตามความสนใจความถนัด 3.นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองจากการค้นคว้าแหล่งการเรียนรู้ 4.โรงเรียน โดยกลุ่มสาระสุขศึกษา พลศึกษา ต้องมีความพร้อมด้านสื่ออุปกรณ์การเรียนให้คลอบคลุมตามกลุ่มความสนใจของนักเรียน5.นักเรียนควรฝึกพัฒนาการจัดการการอุปกรณ์ สื่อ เวลา ในการวางแผนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนของตนเองของกลุ่มได้ 5.นักเรียนจะต้องประเมินสถานะ สภาพ บริบท ประสิทธิภาพ คุณภาพการปฏิบัติกิจกรรมและผล การเรียนรู้ของตนเองได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้สาระสุขศึกษาพลศึกษายังได้วิเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียน การสอน งานวิจัยต่างๆรวมทั้งของบุคลากรผู้สอนใน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษาโดยการศึกษางานวิจัยที่แต่ละคนสนใจและที่ทำวิจัยผ่านมา ทางกลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษาเห็นควรประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยของ ผศ.ประกอบ กระแสโสม เรื่อง การร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้แผนกำหนดผลสัมฤทธิ์และการประเมินความก้าวหน้าในวิชาปฏิบัติ มาเป็นต้นแบบในการจัดกิจกรรมการเรียนโดยประยุกต์ใช้ให้เกิดความเหมาะสมโดยให้ดำเนินการ ร่างแผนภูมิการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อใช้เป็น Model ในการเรียนการสอน (ดูในภาคผนวกท้ายเล่ม) ซึ่งพอสรุปเป็นขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
ขั้นที่ 1 เตรียมกลุ่มการเรียน ให้นักเรียนจัดกลุ่มตามความสนใจในกิจกรรมที่อยากเรียน
ขั้นที่ 2 ปฐมนิเทศ ประกอบด้วย
1.การใช้สื่อการเรียน 2.การเขียนแผน A M P (Achievement management plan) 3.ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมทางพลศึกษา 4.การจัดการอุปกรณ์ สื่อการเรียน เวลาเรียน สนาม 5. การประเมินตนเอง,กลุ่มการเรียน
ขั้นที่ 3 สร้างความพร้อมของผู้เรียน
1.สอนวิธีการใช้สื่อการเรียนการสอน 2.สอนวิธีการเขียนแผน A M P 3.สอนการจัดการเรื่องสื่ออุปกรณ์ เวลาเรียน สนาม 4.รูปแบบและวิธีการประเมินผลตนเองและกลุ่ม
ขั้นที่ 4 ขั้นทดลองปฏิบัติรูปแบบการเรียน
กลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษา จึงดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้านวิชาการประกอบด้วย
1.ร่างหลักสูตรรายวิชา เอกสารประกอบการสอนในรายวิชา
2.จัดทำโครงการ แผนการดำเนินงาน
3.ส่งหลักสูตรและโครงการ เพื่อขออนุมัติและขอเปิดรายวิชาเพิ่มเติม โดยเบื้องต้นเปิดให้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ใช้ชื่อวิชาว่า การจัดการกิจกรรมกีฬาเพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ”
2..ศึกษาเอกสารและวรรณคดีที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน
“แนวคิดทฤษฎีวรรณคดีที่เกี่ยวข้องจากการศึกษาพบว่าการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เป็นการเน้นให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มและมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการปลูกฝังในแง่ทัศนคติและพฤติกรรมทางสังคมที่เอื้อเฟื้อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ยังสามารถประเมินความก้าวหน้าของนักเรียนจากผลการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนของนักเรียนและนักเรียนจะใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศทางวิชาการในการปรับปรุงพฤติกรรมการเรียนการสอนของตนเองและกลุ่ม การใช้แผนกำหนดผลสัมฤทธิ์เป็นการคาดคะเน การวางความมุ่งหมายที่จะทำให้สำเร็จโดยกำหนดวันเวลาทั้งยังสามารถใช้เทคนิคการประเมินเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานของตนของกลุ่มได้อีกด้วย 3.ศึกษาและสร้างเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย
3.1 แผนการสอน
3.2 แผนกำหนดผลสัมฤทธิ์
3.3 แบบประเมินตนเอง
ข.ขั้นปฏิบัติการ (Action)
เป็นการนำขั้นการวางแผนมาดำเนินการปฏิบัติ การใช้การวิเคราะห์วิจารณ์ประกอบด้วยการรับฟังจากผู้ร่วมวิจัย
ค.ขั้นสังเกตุการณ์ ( Obsurve)
เป็นการสังเกตุการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งสังเกตการปฏิบัติ(The action process)และผลการปฏิบัติ(The effect of action) โดยใช้เทคนิคการรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1. การสังเกตบทบาทสมาชิกด้านความรับผิดชอบ การทำงานกลุ่มย่อย การช่วยเหลือกันของนักเรียนที่มีพฤติกรรมเด่นชัด 2.การสัมภาษณ์แบบไม่ได้วางแผน(Unplaned) โดยสัมภาษณ์เด็กเก่ง ปานกลาง อ่อน กลุ่มละ 2 คน 3.การใช้บันทึกสนาม(Field note) จนบันทึกพฤติกรรมที่เห็นตามสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่ใช้ข้อคิดเห็นส่วนตัว เป็นการบันทึกเหตุการณ์ขณะสอน 4.แบบทดสอบย่อย 5.ผลงานนักเรียน
ง.ขั้นสะท้อนการปฏิบัติ(Reflect)
เป็นการประเมินหรือตรวจสอบกระบวนการ ปัญหา อุปสรรคที่ได้จากข้อมูลในขั้นการสังเกต(Obsurve) โดยผ่านการวิเคราะห์ อภิปราย ประเมินโดยผู้ทำการวิจัยและผู้ร่วมงานวิจัยเพื่อเป็นพื้นฐานข้อมูลที่นำไปสู่การปรับปรุงและวางแผนปฏิบัติต่อไป
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย
1.เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ประกอบด้วย
1.1 หลักสูตรรายวิชาการจัดการกิจกรรมกีฬาเพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ
1.2 สื่อการเรียนการสอนรายวิชาการจัดการกิจกรรมกีฬาเพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ
1.3 แผนการเรียนการสอนรายวิชาการจัดการกิจกรรมกีฬาเพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ
1.4 แผนกำหนดผลสัมฤทธิ์ A M P รายวิชาการจัดการกิจกรรมกีฬาเพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ
2.เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติ
2.1 แบบทดสอบ
2.2 การสัมภาษณ์
2.3 การสังเกต
3.เครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ
3.1 แบบประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
3.2 แบบประเมินตนเองของผู้เรียน
3.3 แบบสรุปผลการสังเกต และการสัมภาษณ์
การสร้างเครื่องมือ
1.หลักสูตรการเรียนการสอนรายวิชาการจัดกิจกรรมกีฬาเพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ ผู้วิจัยดำเนินการสร้างตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ และหลักสูตรสถานศึกษาด้านความมุ่งหมายของหลักสูตร ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ขอบข่ายสาระการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
1.2 จัดทำร่างหลักสูตรฉบับทดลองใช้ เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ ในที่นี่ผู้วิจัยให้บุคลากรในหมวดร่วมกันวิเคราะห์เป็นผู้เชี่ยวชาญร่วมกันพิจารณา
1.2 นำเสนอในที่ประชุมวิชาการของกลุ่มสาระสุขศึกษาพลศึกษา เห็นชอบ ส่งต่องานวิชาการ
เพื่อพิจารณาอนุมัติใช้ในการเรียนการสอน
1.3 นำหลักสูตรมาจัดสาระการเรียนและรวบรวมเป็นหน่วยการเรียนตามชนิดกีฬา จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน
2. เขียนแผนการสอนรายวิชาการจัดการกิจกรรมกีฬาเพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ ผู้วิจัยดำเนินการสร้างตามขั้นตอนดังนี้
2.1 ขั้นที่ 1 นำหลักสูตรรายวิชามาสังเคราะห์ จัดหน่วยการเรียน และเขียนแผนการสอน
2.2 ขั้นที่ 2 นำแผนการสอนทดลองใช้ รวบรวมข้อมูล ปรับปรุงพัฒนา
3.แผนกำหนดผลสัมฤทธิ์ AMP ผู้วิจัยและคณะได้ดำเนินการจัดทำตัวอย่างแผนกำหนดผลสัมฤทธิ์ เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับผู้เรียนซึ่งจะประกอบด้วยแนวทางการเขียน แบบฟอร์ม ซึ่งจะประกอบด้วย วันเดือนปีในการสอน เนื้อหาการสอน การประเมินผล จำนวนคาบ และกำหนดองค์ประกอบความสามารถ จุดมุ่งหมายการเรียนการสอน เทคนิคการประเมินตนเอง วิธีปฏิบัติ กำหนดวัน เวลา ด้วยตัวของนักเรียนเอง
4.แบบประเมินตนเอง จะเป็นแบบที่ใช้สะท้อนผลของการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งผู้วิจัยประยุกต์ใช้แบบประเมินความก้าวหน้าในการเรียน ซึ่งประกอบด้วยตารางคะแนนฐาน คะแนนทดสอบ คะแนนความก้าวหน้า
โดยมีกรอบแนวคิดในการสร้างดังต่อไปนี้
วิเคราะห์สภาพปัญหาและข้อมูลพื้นฐาน
-คุณลักษณะของผู้เรียนที่ต้องการให้เกิดตามหลักสูตร
-ระดับพัฒนาการของผู้เรียน
-การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน

แนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเรียน
- หลักการสอนพลศึกษา
การสอน
-เทคนิคการสอน
-หลักการ Co-operative leaning
-แผนกำหนดผลสัมฤทธิ์
-แบบประเมิน ตนเอง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการและใช้เทคนิคการรวบรวมข้อมูลได้แก่ การบันทึกประจำวัน การสัมภาษณ์ การใช้บันทึกสนาม แบบทดสอบ แบบฝึกทักษะ แฟ้มพัฒนางาน ซึ่งผู้วิจัยเก็บข้อมูล ตามสภาพจริงซึ่งประกอบด้วย 1.Product หมายถึงการผลิตหรือการประดิษฐ์ชิ้นงาน 2.Performance การแสดงออกในการปฏิบัติกิจกรรม 3.Process ด้านกระบวนการ 4.Portfolio แฟ้มสะสมงาน แฟ้มพัฒนางาน
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ระหว่างการดำเนินการปฏิบัติการวิจัย และหลังสิ้นสุดการวิจัยซึ่งข้อมูลได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ การทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
1.การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ
2.การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลจากการบันทึกประจำวันของผู้วิจัย ผู้ช่วยวิจัย การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการสอน การสัมภาษณ์ผู้เรียน การทำแบบทดสอบ รวบรวบสรุปเป็นความเรียงในการอภิปรายผลการวิจัย
เอกสารอ้างอิง
บรรจง คณะวรรณ การทดสอบวัดผล
ประเมินผลการศึกษา.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2527
ประกอบ กระแสโสม การร่วมมือ
กันเรียนรู้โดยใช้แผนกำหนด
ผลสัมฤทธิ์และการประเมิน
ความก้าวหน้าในการเรียน ,
มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2543
Shrida.F.S. “A Comparative Study of physical education program influenes on youth physical fitness levels in public schools in irag and united states” dissertation abstracs international.42(October 1981):1536-A,1981.
education.Dissertation Abstracs international 39 (January 1979):4128-A.
Willgoos.C.E. Evalution in Health Education and physical Education.New York:Mcgraw-Hill inc 1961.
Zuti.W.B.and Cobin.C.B.Physical fitnes norms for college freshman.The Researh Quartery 48 (May 1971):409-502.