งานวิจัย : ผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีต่อการศึกษาเจตคติ และพฤติกรรมของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Impact of Economic Crisis on the Athitudes and Behaviour of People in the Northeastern Region in Relation to Education
โดย :
 
บทคัดย่อ ภาษาไทย

   บทคัดย่อ

วิกฤตเศรษฐกิจที่สังคมไทยเผชิญอยู่ มีหลากหลายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการศึกษาประชาชนได้รับความเดือดร้อน ยากจนรายได้น้อยลง มีคนว่างงานแบะอพยพกลับถิ่นฐานมากขึ้น เด็กและเยาวชนต้องละทิ้งสถานศึกษากลางคัน สภาพจิตใจของประชาชนมีภาวะกดดันมากขึ้นจนบางรายถึงกับฆ่าตัวตาย จนมีข่าวการฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหาหนี้สิน บางคนปรับตัวได้โดยอาศัยศาสนา การเปลี่ยนอาชีพมาค้าขายและทำการเกษตร ทางด้านค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรมก็มีความเปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านที่เป็นผลดีและผลเสียต่อสังคม
งานวิจัยนี้ตระหนักถึงภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีผลกระทบต่อประชาชนทุกกลุ่มอาชีพ จึงได้ศึกษาถึงผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันต่อการศึกษา เจตคติ และพฤติกรรมของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. ศึกษาถึงภาวการณ์คงอยู่ในสถานศึกษา การออกกลางคัน หรือการกลับเข้าศึกษาต่อของประชาชนในกลุ่มอายุต่าง ๆ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ 2. ศึกษาลักษณะแนวคิดเปลี่ยนแนวคิด (เจตคติ) ที่มีผลต่อพฤติกรรมของประชาชน และ 3. เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิดเพื่อให้เกิดความเข้าใจปัญหาและค้นหาแนวทางประพฤติปฏิบัติที่มีคุณค่าต่อสังคมร่วมกัน การเก็บรวบรวมข้อมูลเก็บโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) จากกลุ่มอาชีพหลัก 3 กลุ่ม คือ สาขาเกษตรกรรม สาขาอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม และสาขาการบริการ สุ่มจากจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยแบ่งเป็นจังหวัดที่มีเศรษฐกิจดี เศรษฐกิจระดับปานกลาง และจังหวัดยากจน โดยคัดเลือกออกมากลุ่มละสามจังหวัด และนำมาสุ่มอย่างง่ายได้มา 3 จังหวัด คือ จังหวัดขอนแก่น สกลนคร และสุรินทร์ จากนั้นจัดโควตาจำนวนกลุ่มตัวอย่างตามกลุ่มอาชีพ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 2 รูปแบบ คือ
1. การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ใช้กับอาชีพ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชย
กรรม และบริการ รวมทั้งสิ้นจำนวน 76 คน
2. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับกลุ่มประชาชนที่มีรายได้น้อยในกลุ่มอาชีพ เกษตรกรรม และผู้ใช้แรงงาน และพาณิชยกรรม บริการขนาดย่อย จำนวน 216 คน
ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) นำมาจัดหมวดหมู่ในประเด็นสภาพปัญหาและสาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจ ผลกระทบที่สุ่มตัวอย่างได้รับ ซึ่งจะรวมถึงด้านการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ การดำเนินชีวิตบทเรียนที่กลุ่มตัวอย่างได้รับข้อเสนอแนะที่กลุ่มตัวอย่างต้องการถ่ายทอดแลกเปลี่ยน สรุปประมวลผลที่เป็นทางบวกและทางลบ
ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง นำมาคำนวณให้อัตราค่าน้ำหนักตามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งกำหนดค่าคะแนนเป็น 4 ระดับ จากนั้นนำไปประมวลผล โดยข้อมูลส่วนตัวรายงานในลักษณะของค่าความถี่ และค่าร้อยละ ข้อมูลด้านการศึกษาสังคม เศรษฐกิจ ศาสนา ความคิดเป็นเกี่ยวกับตนเองและสภาพการดำเนินชีวิตก่อน และหลังภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนำมาเปรียบเทียบโดยใช้สถิติสอบที (t-test) และพบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) เปรียบเทียบความแตกต่างและตัวแปรต้น (เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ภาวะหนี้สิน) กับความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาและความเชื่อ การดำเนินชีวิต โดยใช้ค่าสถิติความแปรปรวนทางเดี่ยว Oneway –ANOVA เมื่อพบความแตกต่งจะใช้เปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยใช้สถิติของ Scheffe’ ซึ่งไม่พบค่านัยสำคัญทางสถิติ (P>.05)

ผลงานวิจัยพบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างที่ร่วมประชุมกลุ่มย่อยให้ข้อมูลว่า ไม่มีผู้ใดให้บุตรหลายออกจากโรงเรียนในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ แต่มีบ้างที่ให้ย้ายโรงเรียน ส่วนการกลับเข้าศึกษาต่อของผู้ใหญ่นั้น มีผู้สนใจเรื่องการฝึกอบรมระยะสั้น แต่พบว่าช่วงวิกฤตนั้นแหล่งจัดฝึกอบรมก็งดการจัดอบรมเช่นกัน อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างแสดงความเชื่อในความสำคัญของการศึกษา ว่าเป็นเรื่องสำคัญและเป็นหลักประกันอนาคตของบุตรหลาน
2. ลักษณะแนวคิด (เจตคติ) ที่มีผลต่อพฤติกรรมของประชาชน ข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อยสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างมีแนวคิดก่อนและหลังวิกฤตเศรษฐกิจเปลี่ยนไปบ้าง และมีการปรับเพื่อความอยู่รอด ส่วนข้อมูลจากกลุ่มผู้มีรายได้น้อยจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างพบว่าด้านการศึกษาและเศรษฐกิจมีความคิดเปลี่ยนไป ส่วนความเชื่อด้านสังคม และศาสนายังคงเดิม
3. การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิดเพื่อให้เกิดความเข้าใจปัญหาและค้นคว้าหาแนวทางปฏิบัติ ที่มีคุณต่อสังคมร่วมกัน พบว่ามีประเด็นด้านบวก คือ กลุ่มตัวอย่างได้มีโอกาสดูแลภารกิจของตนใกล้ชิดมากขึ้น เกษตรกรได้หยุดวิเคราะห์ปัญหาของตนเอง นักธุรกิจได้ร่วมมือกันดูแลกับพนักงานใกล้ชิดมากขึ้น ด้านความเป็นอยู่ของครอบครัวมีความอบอุ่น ซึ่งเป็นโอกาสของวิกฤตทำให้ทุกคนใกล้ชิดพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับรู้ปัญหาและหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน มีโอกาสพิจารณาคุณลักษณะของคนในสังคมว่าผลผลิตของการศึกษามีส่วนทำให้ได้คนที่ขาดความคิดวิเคราะห์ ขาดวินัย ขาดความรับผิดชอบ และความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งต้องพัฒนาระบบการศึกษา แนวคิดในทางลบพบว่ามีการมองรัฐบาลว่าแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจล่าช้า กลุ่มตัวอย่างรู้สึกท้อแท้ในบางครั้ง มีคนจนเพิ่มขึ้น แม้ในหมู่บ้านเล็กก็ต้องระมัดระวังด้านความปลอดภัยจากการลักขโมย จี้ ปล้น มีการเล่นหวยหุ้นมากขึ้น
จากผกการวิจัยพอจะสรุปข้อเสนอแนะได้ดังนี้ คือ นโยบายและการปฏิบัติ ควรมีการให้การศึกษาการเกษตรแบบครบวงจรแก่เกษตรกร ควรมีการประนอมหนี้ให้มีประสิทธิภาพ ภาครัฐ ควรกระจายการจัดทำแผนงบประมาณแบบมีส่วนร่วม จัดทำข้อมูล การส่งเสริมอาชีพที่มั่นคงแก่เกษตรกร ผู้แรงงาน อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และบริการ จัดให้มีการเยนการสอน เรื่องปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจพัฒนาหลักสูราให้สร้างคนให้รู้จักคิดวิเคราะห์รับผิดชอบเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันสังคมไทย
ข้อเสนอแนะด้านการวิจัย ควรมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเจาะลึก การออกกลางคันของนักเรียนโดยเริ่มจากสถาบันศึกษา ควรวางแผนเก็บข้อมูลให้ครบทุกกลุ่มอาชีพ และควรมีการสัมภาษณ์เจาะลึก การประเมินเจตคติของกลุ่มตัวอย่างแต่ละรายด้วย