งานวิจัย : ผลของการเรียนรู้แบบแยกกลุ่มทักษะประสบการณ์ ด้วยการใช้กระบวนการ TOTE และการจัดทำ FOLIO ในการพัฒนานักเรียน
โดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประกอบ กระแสโสม
 
บทคัดย่อ ภาษาไทย

   วัตถุประสงค์ในการวิจัย
เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้แบบแยกกลุ่มทักษะประสบการณ์ด้วยการใช้กระบวนการ TOTE และการจัดทำ Folio ในการพัฒนานักเรียน
ผลการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นผลการรวบรวมการพัฒนาผู้เรียนในลักษณะการพัฒนาผู้เรียนด้วยรูปแบบ folio โดยเน้นหลักการ tote ในการนำมาพัฒนานักเรียน ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถบ่งชี้การแก้ปัญหาการเรียนของนักเรียนได้ตรงและพัฒนาผู้เรียนได้อย่างชัดเจน ดังตารางเปรียบเทียบผลการพัฒนาผู้เรียนดังนี้

ปัญหา แนวทางแก้ปัญหา
1.นักเรียนมีพื้นฐานทักษะที่แตกต่างกัน

2.แบบฝึกไม่ส่งเสริมการให้ผู้เรียนพัฒนาตามศักยภาพการเรียนรู้ของตน ทำให้ขาดแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้
3.ขาดการพัฒนาสมรรถภาพทางจิตโดยเฉพาะ ความสนใจ สมาธิในการฝึก พัฒนาตนเองสั้น
4.คะแนนผลการเรียนไม่สร้างแรงจูงใจต่อการพัฒนาการฝึกของผู้เรียน 1.จัดทำแบบฝึกพัฒนาทักษะแยกตามกลุ่มประสบการณ์พื้นฐานการเรียนรู้เดิม
2.แยกผู้เรียนเป้นกลุ่มชัดเจนตามความรู้ความสามารถ จัดกลุ่มการเรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.การกระตันให้ผู้เรียนเรียนรู้ตรงความสามารถ โดยจัดแบบฝึกทักษะตามกลุ่มประสบการณ์
4.การส่งเสริมให้ผู้เรียนที่สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้โบนัสเป็นการสร้างแรงจูงใจและส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

ผลการประเมินนวัตกรรม
นวัตกรรมที่ใช้พัฒนาผู้เรียน มีกระบวนการตรวจสอบก่อนเรียน มีเป้าหมายพัฒนาชัดเจน เห็นความสำคัญของปัญหา มีแนวทางแก้ปัญหาชัดเจน วิเคราะห์ความสามารถของผู้เรียน จัดกลุ่มการเรียนก่อนการพัฒนา กิจกรรมการฝึกมีการกระตุ้นโดยให้คะแนนโบนัส สามารถกำหนดพฤติกรรมการพัฒนานักเรียนชัดเจน การประเมินเน้นการปฏิบัติจริง เห็นความก้าวหน้าของการพัฒนา มีการเปรียบเทียบการพัฒนา กระตุ้นให้การพัฒนาต่อเนื่อง และนักเรียนแสดงความรู้สึกต่อการพัฒนาในทางที่ชอบและต้องการความก้าวหน้าในการพัฒนาทักษะของตนเอง สรุปตามกระบวนการในการเรียนการสอนดังนี้
ขั้นวินิจฉัย(ก่อนสอน)
1.การตรวจสอบวินิจฉัยโดยการทดสอบก่อนสอน
2.จัดกลุ่มนักเรียนตามกลุ่มวินิจฉัย(กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้)
3.วิเคราะห์สาระการเรียน ความยากง่าย การจัดหน่วยการเรียน หรือกลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ให้ตรงกับกลุ่มผู้เรียน
4.จัดทำแผนกำหนดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน และสื่อการเรียนรู้สำหรับกลุ่มการเรียน
5.กำหนดเงื่อนไขการประเมินคะแนนโบนัส(สร้างเกณฑ์ปกติในการประเมินผลการฝึกตามกลุ่มประสบการณ์)
ขั้นสอน
1.แจ้งเงื่อนไขคะแนนโบนัส
2.แยกกลุ่มประสบการณ์
3.แจกแบบฝึกพัฒนาผู้เรียนตามกลุ่มประสบการณ์
4.เปิดโอกาสในการสอบรักษาสภาพ(รักษาระดับ) แบบเป็นทางการ
5.เปิดโอกาสเป็นทางการการสอบเลื่อนระดับ(PASS)
ขั้นสรุป
1.ประกาศผลการรักษาสภาพ
2.ประกาศการเลื่อนระดับ(Pass)
3.สรุปผลการเรียนประจำวัน

ความเป็นมาของปัญหาที่ทำการวิจัย
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในแต่ละภาคเรียน มีข้อค้นพบและเป็นปัญหาของผู้เรียนในการพัฒนาทักษะแต่ละทักษะของกิจกรรมพลศึกษาคือ การเรียนรู้ของผู้เรียนมีพื้นฐาน ประสบการณ์การเรียนรู้แตกต่างกัน การจัดกิจกรรมของครูจึงต้องพิจารณาให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพของผู้เรียน การตรวจสอบวินิจฉัยจึงต้องกระทำอย่างมีหลักการ TOTE เป็นแนวทางและหลักการการตรวจสอบวินิจฉัยผู้เรียนที่มีลำดับชั้นตอนที่สะดวก ง่ายและเห็นผล ซึ่ง TOTEประกอบด้วยหลักการง่ายๆคือ T1 การทดสอบ(Test) เพื่อประเมินความสามารถของนักเรียนก่อนสอน(Pre – test) O เป็นการดำเนินการ วางแผน สร้างนวัตกรรม ทดลองสอน (Operation) T2 ประเมินความสามารถของนักเรียนหลังสอน(Post – test) E สรุปผลการสอน (Exist) ซึ่งหลักการดังกล่าวจะถูกนำมาในรูปของตารางวิเคราะห์ และดำเนินการตามขั้นตอน จนกระทั้งเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนการสอนและสรุป การเขียนรายงานจะอยู่ในรูปของ Folio ในการพัฒนานักเรียน
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกิจกรรมพลศึกษา รายวิชาวอลเลย์บอล ผู้วิจัยได้ทำตารางวิเคราะห์ตามหลักการ TOTE และค้นพบปัญหาในการเรียนของนักเรียน คือ
1.นักเรียนมีพื้นฐานของทักษะที่แตกต่างกัน
2.แบบฝึกไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามศักยภาพการเรียนรู้ของตน ทำให้ขาดแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้
3.ขาดการพัฒนาสมรรถภาพทางจิตโดยเฉพาะ ความสนใจ สมาธิในการฝึกพัฒนาตนเองสั้น
4.คะแนนผลการเรียนไม่สร้างแรงจูงใจต่อการพัฒนาการฝึกของผู้เรียน
แนวทางในการดำเนินการแก้ไข
การดำเนินการจะอยู่บนหลักการของ TOTE คือ ตรวจวินิจฉัย รักษา สรุปผล ซึ่งผู้วิจัยวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนดังนี้
1.จัดนักเรียนทำการทดสอบก่อนเรียน จัดกลุ่มการเรียนตามพื้นฐาน(ทักษะพื้นฐาน)เดิมของผู้เรียน
2. สร้างแบบฝึกพัฒนาทักษะ ยากง่ายตามความรู้ความสามารถของผู้เรียน และนำมาจัดกลุ่ม
ตามความยากง่ายของทักษะผู้เรียนเรียกว่า กลุ่มทักษะการเรียนรู้
3.การจัดกิจกรรมแบบฐานการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
4.สร้างเกณฑ์ของแต่ละกลุ่มทักษะเพื่อให้ผู้เรียนประเมินระดับผลการเรียนของตนเอง
5. การจัดระบบการประเมิน แบบ Pass ระดับชั้น และคงสภาพของระดับการเรียน
6.จัดระบบวางเงื่อนไข การได้คะแนนโบนัสของนักเรียนที่สามารถเข้าสู่ระดับดีเยี่ยมขึ้นไป
จากแนวดำเนินการข้างต้นผู้วิจัยมองว่านวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยแก้ไขปัญหาในการเรียนของนักเรียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะได้ดำเนินการและสรุปรายงานการพัฒนาผู้เรียนต่อไป
วิธีการดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยที่ประกอบด้วย Folio หลายๆชิ้นที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันและนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์เป็นงานวิจัย (Research ) ผู้วิจัยเก็บข้อมูลเริ่มต้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2540 -2547 ซึ่งในเอกสารวิจัยเล่มนี้จะชี้ให้เห็นเฉพาะกระบวนการของรูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้หลักการ TOTEเท่านั้น ส่วนรายละเอียดอื่นๆจะขึ้นอยู่กับข้อมูลของแต่ละ Folio ย่อยๆของ Folio นั้นๆ ซึ่งผู้วิจัยจะเพียงอ้างถึง แต่จะไม่กระทบต่อการรูปแบบในการพัฒนานักเรียนตามรูปแบบในวิจัย ซึ่งบางส่วนเป็นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เกิดความเหมาะสมในการวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


ประชากร
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาวอลเลย์บอล จำนวน 125 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.ตารางวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบและวินิจฉัยตามหลักการของ TOTE


T1 ทดสอบก่อนเรียน สภาพปัญหา คือ.....................
เครื่องมือที่ใช้ตรวจวินิจฉัยปัญหา เพื่อจำแนกกลุ่มว่านักเรียนมีปัญหามากน้อยเพียงใด คือ...............................
O การดำเนินการ การวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา
- แนวคิดทฤษฎีที่ใช้แก้ปัญหา คือ..................................
- นวัตกรรมการสอนที่ใช้แก้ปัญหา คือ ..................
- กระบวนการเรียนการสอนที่ใช้แก้ปัญหาคือ......................................................................
- เส้นพัฒนาหรือระดับคุณภาพที่ต้องการพัฒนานักเรียนตามเป้าหมายคือ.................................
T2 ทดสอบหลังเรียน ผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองใช้นวัตกรรม
- เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบว่า นักเรียนมีพัฒนาการดีขึ้นคือ............................................
- ตัวบ่งชี้แสดงว่า นักเรียนมีพัฒนาการดีขึ้นคือ......
E สรุปผล สรุปผลการวิจัยในชั้นเรียน ของ Folio นี้คือ……..

2.แบบฝึกพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบ กลุ่มทักษะประสบการณ์การเล่นวอลเลย์บอล ประกอบด้วย 4 กลุ่มคือ
1.1 กลุ่มทักษะเริ่มต้น ประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ 1.1.1 การพัฒนาทักษะท่ามือเปล่าที่ไม่ใช้อุปกรณ์ 1.1.2 การพัฒนาทักษะแบบกลุ่มร่วมกันเล่นที่ใช้อุปกรณ์ 1 อุปกรณ์ ต่อผู้เล่น 6 คนขึ้นไป
1.1.3 การพัฒนาทักษะแบบกลุ่มบังคับทิศทางของการเคลื่อนไหวอุปกรณ์ แต่คนไม่เคลื่อนที่ และ 1.1.4 ทักษะบุคคล(เดี่ยว) มีอุปกรณ์
1.2 กลุ่มทักษะพื้นฐาน ประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ 1.2.1 การพัฒนาทักษะแบบ โต้คู่
1.2.2 การพัฒนาทักษะแบบอุปกรณ์เคลื่อนที่ คนสลับตำแหน่ง 6 – 8 คน(สลับในแถว)
1.2.3 การพัฒนาทักษะแบบอุปกรณ์เคลื่อนที่ คนสลับตำแหน่ง 6 – 8 คน(สลับต่างแถว)
1.3 กลุ่มมีความสามารถ ประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ 1.3.1 การพัฒนาทักษะแบบโต้ 3 คนสลับ 1 ทักษะ 1.3.2 การพัฒนาทักษะแบบโต้ 3 คนสลับ 2 ทักษะ 1.3.3 การพัฒนาทักษะแถวตอนสลับทักษะ
1.4 กลุ่มเก่ง ประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ 1.4.1 การพัฒนาทักษะแบบ 3 คน 3 ทักษะ 1.4.2 การพัฒนาทักษะแบบ 4 คนสลับ 1.4.3 การเล่นทีมทักษะสัมพันธ์
วิธีการสร้างเครื่องมือแบบฝึกพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบกลุ่มประสบการณ์
1.กำหนดจุดมุ่งหมายของแบบฝึกพัฒนาการเรียนรู้แบบกลุ่มประสบการณ์
2.วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ จัดกลุ่มทักษะการเรียนรู้เป็นกลุ่มประสบการณ์
3.เขียนสาระและแบบฝึก แผนภูมิการฝึก ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ นำไปทดลองใช้ กับกลุ่มประชากร
หาประสิทธิภาพของแบบฝึกโดยหาความสัมพันธ์ของคะแนนรายบุคคลกับคะแนนรวมในระดับชั้น
3.แบบทดสอบรักษาสภาพ(คงสภาพ) และ Part ระดับ
วิธีการสร้างเครื่องมือแบบทดสอบรักษาสภาพ(คงสภาพ) และ Part ระดับ
1.นำข้อมูลและแบบฝึกพัฒนาทักษะการเรียนรู้มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ภาพย่อยภาพรวม เลือกแบบฝึกที่มีค่าเชื่อมั่นมากกว่า .60 มาเป็นแบทดสอบ
2. เขียนเงื่อนไขและเกณฑ์การทดสอบ ข้อปฏิบัติในการทดสอบ การรักษาสภาพ(คงสภาพ) การผ่านระดับและคะแนนโบนัส
3.นำไปทำการทดสอบนักเรียน
4.รวบรวมข้อมูล (ปี พ.ศ.2540 –ปี พ.ศ.2546) มาจัดทำเกณฑ์ (Norm) ของแต่ละแบบทดสอบ
4. เกณฑ์ปกติ (Norm) ประกอบด้วยเกณฑ์ปกติ 4 ระดับ(4 เกณฑ์) โดยใช้สูตร ดังนี้
1.หาค่าเฉลี่ย 2.หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำมากำหนดระดับความสามารถด้านนั้นๆดังนี้
เก่ง ค่าเฉลี่ย + 1.5 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน)
มีความสามารถ ค่าเฉลี่ย + .5 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ถึง ค่าเฉลี่ย + 1.5(ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน)
มีพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย - .5 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ถึง ค่าเฉลี่ย + 1.5(ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน )
เริ่มต้น ค่าเฉลี่ย - .5 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ถึง ค่าเฉลี่ย - 1.5(ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ตัวอย่างเกณฑ์แบบทดสอบคงสภาพทักษะกลุ่มประสบการณ์ที่ 1 – 4

ระดับ ทักษะ คงสภาพ Part ระดับ
เก่ง ลูกมือล่าง เกณฑ์กลุ่มระดับ ดี
(มีโบนัส) เกณฑ์กลุ่มระดับดีมาก
มีความสามารถ ลูกมือล่าง เกณฑ์กลุ่มระดับ
(ปานกลาง มีโบนัส) เกณฑ์กลุ่มระดับ ดี
พื้นฐาน ลูกมือล่าง เกณฑ์กลุ่มระดับ พอใช้(มีโบนัส) เกณฑ์กลุ่มระดับ ปานกลาง
เริ่มต้น ลูกมือล่าง เกณฑ์กลุ่มระดับต้องปรับปรุง เกณฑ์กลุ่มระดับ พอใช้(มีโบนัส)

5.แผนกำหนดผลสัมฤทธิ์ (Achievement management Plan) ประกอบด้วยเป้าหมาย องค์ประกอบของความสามารถ วิธีฝึก การประเมินผล
กระบวนการจัดทำ Folio เพื่อวิจัยในชั้นเรียน
กระบวนการจัดทำ ชิ้นงาน FOLIO ด้านการเรียนการสอนมีขั้นตอนเหมือนกับกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน ดังนี้คือ
1.รวบรวมปัญหาด้านการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในปีการศึกษาที่ผ่านมาหรือปีการศึกษาปัจจุบัน วิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางแก้ไข
2.ศึกษาหลักสูตรเพื่อวางแผนการสอน คิดค้นนวัตกรรมที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา หรือพัฒนานักเรียนให้บรรลุตามจุดประสงค์ของหลักสูตร
3.สร้างนวัตกรรมการสอนเพื่อแก้ไขปัญหานักเรียน เช่น
3.1 แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
3.2 ใบความรู้(เอกสารเนื้อหาวิชา)
3.3 ชิ้นงานที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติและเก็บในแฟ้มผลงานนักเรียน
3.4 สื่อการเรียนการสอนอื่นๆ เช่น แบบฝึกทักษะ แบบเรียนสำเร็จรูป สไลด์หรือวีดีทัศน์ เป็นต้น
3.5 เทคนิคการสอนแบบต่างๆ
3.6 เครื่องมือในการวัดผลและประเมินผลนักเรียน
4. นำนวัตกรรม (Innovation)ไปทดลองใช้กับนักเรียน
5.ประเมินผลการใช้นวัตกรรม
6.ปรับปรุงหรือพัฒนานวัตกรรมให้ดีขึ้น
7.จดบันทึกผลการทดลองใช้นวัตกรรมเป็นผลงาน 1 FOLIOหรือเป็นรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียน 1 เรื่อง
8.เก็บสะสมผลงานในแฟ้มพัฒนางาน
หลักการพัฒนาผู้เรียนแบบ TOTE
หลักการ TOTE ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
1. T1(Pre – test) จะประกอบด้วย ประเมินความสามารถผู้เรียน
2. Operation ดำเนินการ วางแผนนวัตกรรม ทดลองสอน
3. T2(post – test) ประเมินความสามารถของผู้เรียนหลังสอน
4. E(exist) สรุปผลการสอน
ซึ่งในแต่ละขั้นผู้สอนต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในตารางการวิเคราะห์
เกณฑ์ปกติ(Norm)
การสร้างเกณฑ์ปกติ (Norm) เป็นการรวบรวมข้อมูลในเชิงปริมาณ ในการปฏิบัติกิจกรรมจะเป็นด้านเวลา จำนวนครั้ง หรือปริมาณการทำข้อสอบ แล้วนำมาจัดช่วงหรืออันตรภาคชั้น จะกำหนดเป็นกี่ชั้นก็ได้ แต่นิยมไม่เกิน 5 ขั้นหรือ 5 ระดับ และแต่ละระดับการจัดช่วงให้เป็นไปตามกระบวนการทางด้านการวัดผลประเมินผล ซึ่งมีสูตรการหาชัดเจน โดย 1.หาค่าเฉลี่ย
2.หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำมากำหนดระดับความสามารถด้านนั้นๆดังนี้
เก่ง ค่าเฉลี่ย + 1.5 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน)
มีความสามารถ ค่าเฉลี่ย + .5 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ถึง ค่าเฉลี่ย + 1.5(ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน)
มีพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย - .5 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ถึง ค่าเฉลี่ย + 1.5(ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน )
เริ่มต้น ค่าเฉลี่ย - .5 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ถึง ค่าเฉลี่ย - 1.5(ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน)
การสร้างแบบทดสอบและแบบฝึกพัฒนาการเรียนรู้แบบกลุ่มประสบการณ์
การวิจัยครั้งนี้เน้นกระบวนการทำแบบทดสอบโดยกำหนดกลุ่มทักษะหรือสาระในการเรียนรู้นำมาจัดกลุ่มเป็นกลุ่มประสบการณ์ 4 ระดับ คือ ระดับเริ่มต้น ระดับมีพื้นฐาน ระดับมีความสามารถและระดับเก่ง ซึ่งในแต่ละแบบทดสอบและแบบฝึกจะเน้นความยากง่ายตามกลุ่มผู้เรียน แบบทดสอบ แบบฝึกจะถูกกำหนดที่มีความแตกต่างในการพัฒนาผู้เรียน และสร้างเป็นแผนภูมิแบบฝึก ซึ่งในแต่ละแบบฝึกจะมีไม่น้อยกว่า 2 ฐานการเรียนรู้ ซึ่งแยกแยะตามทักษะการเรียนรู้ และประมวลเป็นแบบทดสอบที่มีค่าความสัมพันธ์ตามระดับของแบบฝึกนั้นๆ และนำมาหาค่าความเชื่อมั่น ได้อย่างน้อย .40 ขึ้นไป มาเป็นแบบทดสอบ โดยทำการทดลองกับกลุ่มผู้เรียนซึ่งเป็นกลุ่มประชากร และนำมาปรับปรุงแก้ไข และนำไปทดลองใช้ (Try out) ผ่านกระบวนการของผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นคณาจารย์ผู้สอนในระดับโรงเรียนซึ่งถือว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการสอน
เอกสารอ้างอิง
ประกอบ กระแสโสม การสร้าง
แบบทดสอบและเกณฑ์ปกติ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2542
-------------------------- ผลการพัฒนา
สมาธิโดยใช้แบบการติดตามตัวเลข
มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2545
education.Dissertation Abstracs international 39 (January 1979):4128-A.
Willgoos.C.E. Evalution in Health Education and physical Education.New York:Mcgraw-Hill inc 1961.