งานวิจัย : ผลของการพัฒนาสมาธิโดยใช้แบบการฝึกติดตามตัวเลข
โดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประกอบ กระแสโสม
 
บทคัดย่อ ภาษาไทย

   วัตถุประสงค์ในการวิจัย
ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพด้านสมรรถภาพทางจิต(สมาธิ)ให้พัฒนาและเรียนรู้เพื่อเพิ่มพัฒนาขีดความสามารถทางการเรียนให้ดีขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มทดลองนักเรียนที่ใช้ตารางการฝึกตามโปรแกรมการฝึกติดตามตัวเลข(ฝึกสมาธิ) ค่าเฉลี่ยของความสามารถทางด้านสมรรถภาพทางจิต ในการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางบวก หลังจากใช้โปรแกรมการฝึกติดตามตัวเลข เป็นเวลา 8 สัปดาห์พบว่าค่าเฉลี่ยของความสามารถทางด้านสมรรถภาพทางจิต(สมาธิ) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านพฤติกรรมจากการสังเกตของผู้วิจัย ผู้ช่วยผู้วิจัยพบว่าพฤติกรรมการเรียนนักเรียนอยู่ในระดับดี คือนักเรียนมีสมาธิดีขึ้น

ความเป็นมา
จากสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 145 คน นักเรียนในขณะเรียนไม่สามารถมีสมาธิในการเรียนไม่พร้อมที่จะทำการเรียน ผู้สอนจึงได้ดำเนินการหาวิธีในการดำเนินการพัฒนานักเรียนกลุ่มนี้ โดยทำการศึกษาโดยการเฝ้าสังเกตในขณะที่ตนเองทำการสอนและในวิชาอื่นที่ท่านอาจารย์อื่นทำการสอน และพบว่านักเรียนกลุ่มเดิมมีพฤติกรรมซ้ำๆซาก คือมีสมาธิในการเรียนค่อนข้างสั้นและหรือบางคนไม่มีสมาธิในการเรียนเลย แนวทางหนึ่งที่น่าจะทำการแก้ไขปรับปรุงก็คือการพัฒนาสมรรถภาพจิต โดยเฉพาะการสร้างเสริมสมาธิในการเรียนให้กับนักเรียน และเริ่มทำการศึกษาเอกสารทางจิตวิทยาและพบว่าวิธีการหนึ่งที่นำมาใช้คือ การสร้างโปรแกรมติดตามตัวเลข ซึ่งนิยมใช้ในการฝึกนักกีฬา ผู้วิจัยเห็นว่าควรนำมาประยุกต์และพัฒนาใช้กับนักเรียนที่ตนเองทำการสอน และได้ทำการวิจัย ตรวจสอบ ประมวลผล บนพื้นฐานและสมมุติฐานที่บ่งบอกว่า “นักเรียนที่ฝึกตามโปรแกรมดังกล่าวน่าจะมีพัฒนาการด้านสมรรถภาพทางจิต(สมาธิ)ดีขึ้น ผู้วิจัยจึงปรึกษาหารือกับหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษาและเพื่อนครู ได้ข้อสรุปกับมาดำเนินการในการวิจัยครั้งนี้
กลุ่มประชากร นักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิชาเทเบิลเทนนิส จำนวน 145 คน
วิธีการดำเนินการทดลอง
ก.ขั้นเตรียมการ
1.อธิบายให้นักเรียนทราบถึงวัตถุประสงค์การทดลองวิจัย
2.อธิบายให้ทราบถึงรูปแบบการฝึก การประเมินผล
3.อธิบายสาธิตการทดสอบสมรรถภาพทางจิตและทำการทดสอบก่อนเรียน(Pre – test)
4.อธิบายสาธิตวิธีการทดสอบสมรรถภาพทางจิตและทำการทดสอบหลังเรียน(Post – test)

ข.ขั้นการทดลอง
1.ขั้นเตรียมผู้เรียนทำการสุ่มผู้เรียนโดยสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม(Random assingment of subject to groups)ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมี 25 คน
กลุ่มที่เป็นกลุ่มทดลอง ใช้โปรแกรมการติดตามตัวเลข
2. ขั้นปฏิบัติการสอน
1.ทำการอธิบายให้นักเรียนเข้าใจวิธีการในการปฏิบัติตามโปรแกรมการติดตามตัวเลขที่กำหนดไว้ ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น มอดินแดง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ๆ(ครั้งละ 3 -5 นาทีก่อนการเรียนการสอน)
2.ทำการทดสอบกลุ่มทดลอง(Post – test )ของสัปดาห์ที่ 2 4 6 และ 8 เพื่อศึกษาพัฒนาการของสมรรถภาพการใช้สมาธิในการติดตามตัวเลข และสังเกตพฤติกรรมการเรียน 3.นำผลที่ได้จากการทดสอบ(Pre – test)และหลังการทดลอง(Post – test)ไปวิเคราะห์ผลทางสถิติ
4.สังเกตจากการเรียน ในการเรียนการสอนในรายวิชาเทเบิลเทนนิสและประมวลด้านคุณภาพ(เชิงบรรยาย)
ค.การปฏิบัติตนของกลุ่มตัวอย่าง
1.ทำการฝึกตามตารางที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
2.ผู้เข้ารับการทดลองต้องทดสอบทุกครั้ง ที่ทำการฝึกและทดสอบ
รูปแบบของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในชั้นเรียนเชิงทดลอง (True Experimental Design) แบบการทดสอบก่อน – หลังการทดลอง โดย Randomized control – group pre –test post- test designing) (สุวิมล ว่องวานิช,2533)




เครื่องมือใช้ในการวิจัย 1)แบบทดสอบสมรรถภาพทางจิต ตารางการติดตามตัวเลข(ตารางการฝึกสมาธิแบบตัวเลข) โดยแบบฝึกการติดตามตัวเลข(Grid concentration exercise)
การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บด้วยตนเองทั้งข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การปฏิบัติการเรียนรู้ และข้อมูลจากการทดสอบ
การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่องทั้งที่เป็นเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้ การสังเกต ทดสอบ ที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติได้แก่ การวิเคราะห์ ข้อความ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบคะแนนทางด้านสมรรถภาพทางจิตระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองด้วยการทดสอบก่อนการทดลองด้วยค่า “ที” (t-test) หาผลการเปรียบเทียบคะแนน








ความสามารถด้านต่างๆก่อนการทดลองระหว่างกลุ่ม
โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for PC (Statistical Package for the Social Sciences for Personal Computer plus Version 7)










ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยผลการเก็บรวมรวมข้อมูลจากการเรียนเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ของกลุ่มทดลอง มาวิเคราะห์ผลตามระเบียบวิธีวิจัย มีผลการวิจัยดังนี้
แผนภูมิที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนน “ที”(t-score)ของการทดสอบก่อนการทดลองและหลังการทดลอง
75.67
69.91
59.20
48.48





สัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 8
สมรรถภาพทางจิต
กลุ่มทดลองก่อนทดลอง(pre-test)
กลุ่มทดลอง หลังทดลอง( post – test)
ตอนที่ 2 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยให้ผู้ช่วยวิจัยสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มทดลองโดยบันทึกข้อมูลในแบบสังเกตพฤติกรรม เสนอในรูปตาราง
ตารางที่ 1 แสดงพฤติกรรมการเรียนหลังการฝึกสมรรถภาพทางจิต(การติดตามตารางตัวเลข )การปฏิบัติงานจากการสังเกตของผู้ช่วยวิจัยและครูผู้สอนภายหลัง 8 สัปดาห์ ในการเรียนของนักเรียน

ผู้วิจัยผู้ช่วยวิจัย
พฤติกรรมที่สังเกต X S.D. พิสัย

1.ระยะเวลาในการเรียน 4.75 .75 4
2.ประสิทธิภาพและความตั้งใจ 4.20 .59 3
3.การควบคุมพฤติกรรมการเรียน 3.79 .68 3
4.ผลงานการเรียน 4.95 .53 4
5.ผลสัมฤทธิ์โดยรวมของการเรียน 4.76 .56 4

จากตารางที่ 1 แสดงพฤติกรรม การกระทำที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนในรายวิชาเทเบิลเทนนิส นักเรียนมีพฤติกรรมตั้งใจเรียน ระยะเวลา การควบคุมตนเอง การทำงานร่วมกับเพื่อนๆ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ยอยู่บนเกณฑ์ที่ดี

อภิปรายผลการทดลอง
การใช้โปรแกรมการพัฒนาด้วยตารางติดตามตัวเลขมีผลต่อสมาธิในการเรียนของนักเรียนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนานักเรียนเพื่อเสริมสร้างสมาธิหรือสมรรถภาพทางจิตในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีทั้งนี้เพราะนักเรียนมีการพัฒนาพฤติกรรมการเรียน มีแรงจูงใจเพิ่มขึ้น ตั้งใจเรียนมากขึ้น และนักเรียนรู้ว่าตนเองบรรลุเป้าหมายคือมีสมาธิในการเรียนดีขึ้น ซึ่งจาการวิเคราะห์ผลการเรียนสรุปพบว่ามีผลต่อการเรียน งานปฏิบัติงานกลุ่ม และพฤติกรรมของตนเองทำให้คะแนนเฉลี่ยความสามารถหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลอง ถ้าระยะเวลาในการฝึกมากเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ จะส่งผลต่อสมรรถภาพทางจิต(สมาธิ)ของผู้เรียนเพิ่มมากขึ้นซึ่ง จะช่วยทำให้นักเรียนเพิ่มความสามารถในการเรียน ช่วยเพิ่มคุณภาพ ช่วยลดความเบื่อหน่ายในการเรียน เพิ่มแรงจูงใจภายในในการพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสัมฤทธิ์และยังช่วยเพิ่มความพึงพอใจทั้งในด้านพฤติกรรมการเรียน การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน
เอกสารอ้างอิง
นำชัย เลวัลย์ และ พิชิต เมืองนา
โพธิ์(ผู้แปล).โทนี่ มอริส.จิตวิทยา
ประยุกต์ ,วารสารจิตวิทยา ,2535.