งานวิจัย : การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมกับวิธีการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองใน ชนบทที่มีสภาพพัฒนาต่างกัน.
Moral Reasoning of Students and Child Rearing Practices of Parents in Rural Area of Different Level of Development
โดย :
 
บทคัดย่อ ภาษาไทย

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียน และวิธีการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองในหม่บ้านชนบทที่มีสภาพแตกต่างกัน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ของนักเรียนกับวิธีการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียน ชั้นปนะถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนรัฐบาลในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ในหม่บ้านอำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2533 จำนวนทั้งสิ้น 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบทดสอบการใชข้เหตุผลเชิงจริยธรรม และสอบถามวิธีการอบรมเลี้ยงดู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย S.D. , F test และหาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียน ในหม่บ้านชนบทที่มีภ่พการพัฒนาแตกต่างกัน อย่ในชั้นที่ 3 การยึดประโยชน์ของสังคมส่วนใหญ่เป็นสำคัญเช่นเดียวกัน ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2. ค่านิยมความซื่อสัตย์ ความเมตตา และความขยันของนักเรียนเปรียบเทียบระหว่างหม่บ้านชนบทที่มีสภาพการพัฒนาต่างกัน ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อวิเคราะห์รวมทั้ง 3 กล่ม เปรียบเทียบคะแนนความซื่อสัตย์ ความเมตตา และความขยัน พบว่า นักเรียนมีค่านิยมทั้ง 3 ด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีคะแนนความเมตตาสูงกว่าความขยัน และความซื่อสัตย์ และคะแนนความซื่อสัตย์จะมีคะแนนน้อยที่สุด
3. ผู้ปกครองในหมู่บ้านชนบทที่มีสภาพการพัฒนาแตกต่างกัน ใช้วิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนน และแบบใช้เหตุผล ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อวิเคราะห์รวมทั้ง 3 กล่ม พบว่า ผู้ปกครองใช้วิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมากกว่าแบบใช้เหตุผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
4. ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ ระหว่างการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม กับวิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลของหม่บ้านพัฒนาปานกลางเท่ากับ .30 และมีนียสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนหมู่บ้านอื่น และการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ