งานวิจัย : ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารในองค์การบริหารส่วนตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Knowledge,Understanding,Attitude and People Participation in Tombol Administration in The Northeastert
โดย :
 
บทคัดย่อ ภาษาไทย

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารในองค์การบริหารส่วนตำบล มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานในองค์การบริหารส่วนตำบล 2. เพื่อศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะ ในการดำเนินบทบาทของประชาชน ต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล วิธีการดำเนินการวิจัยโดยศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นของรัฐ ได้แก่ ปลัดอำเภอ และปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 2) บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล และประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และ 3) ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย
1) ความรู้ความเข้าใจต่อการบริหารงานในองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโดยภาพรวมค่อนข้างสูง กล่าวคือประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไปในองค์การบริหารส่วนตำบลค่อนข้างสูง แต่มีความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลค่อนข้างน้อย
2) ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีทัศนคติที่ดีต่อการบริหารงานในองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเชื่อมั่นว่าองค์กรเป็นที่พึ่งที่สามารถให้ความช่วยเหลือประชาชนได้
3) ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีส่วนร่วมต่อการบริหารงานในองค์การบริหารส่วนตำบลในระดับปานกลาง โดยมีส่วนร่วมในทุกด้านตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง การกำหนดแผนการดำเนินงาน การดำเนินงาน และการติดตามตรวจสอบ
4) แนวทางและข้อเสนอแนะ ในการดำเนินบทบาทของประชาชน ต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย
4.1 การส่งเสริม ให้การศึกษา และสร้างความตระหนักของประชาชน เกี่ยวกับการกระ
จายอำนาจ และการปกครองส่วนท้องถิ่น
4.2 การกำหนดบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลที่จะส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น
4.3 การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องโปร่งใส สามารถตรวจสอบและมีการประชาสัมพันธ์ รายงานสู่ประชาชนโดยตรง
4.4 การสร้างองค์กร หรือเครือข่ายภาคประชาชนที่สามารถตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ และต้องเป็นองค์กรที่ประชาชนเชื่อมั่นในการปฏิบัติงาน