งานวิจัย : สุมาลี ชัยเจริญ.(2547). การพัฒนารูปแบบการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. (นำเสนอการประชุมทางวิชาการ การวิจัยเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้ สำนักเลขาธิการ สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 19-
The Development of Knowledge Construction Model of the Students using Information Technology
โดย : ศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ชัยเจริญ
 
บทคัดย่อ ภาษาไทย

   บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาการสร้างความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเรียกว่า สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เรียนบนเครือข่ายฯที่พัฒนา การสร้างความรู้ของผู้เรียนและความคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนจากเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ลงทะเบียนเรียน วิชา 212 300 สื่อการสอน จำนวน 20 คน และ215 242 สังคมศึกษาสำหรับครูประถม 2 จำนวน 50 คน รวม 70 คน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2546 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสารและเชิงคุณภาพที่เป็นการวิเคราะห์โปรโตคอลการสัมภาษณ์(Protocal Analysis) และการสำรวจความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า
(1) การศึกษาการสร้างความรู้ หรือรูปแบบการทำความเข้าใจ ของผู้เรียนในขณะที่เรียนจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการวิเคราะห์ อาศัยพื้นฐานของ Jeroen J.G. van Merriënboer (1997) ซึ่งจำแนกรูปแบบการทำความเข้าใจอยู่ใน 2 ลักษณะคือ 1) Declarative Knowledge 2) Procedural Knowledge ผลจากการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้เรียนสร้างรูปแบบการทำความเข้าใจในลักษณะของ Declarative Knowledge ซึ่งเป็นโครงสร้างทางปัญญา(Schema)ที่เป็น (1) Complex Schemas ซึ่งผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดรวบยอดต่างๆ ได้อย่างซับซ้อน (2) General Schema ที่ผู้เรียนสามารถอธิบายรายละเอียดและสรุปเป็นข้อสรุปโดยทั่วไปได้ (3)Abstract Schema ซึ่งมีลักษณะเป็น Conceptual Model, Plan or Script, Causal Model สำหรับProcedural Knowledgeจะพบว่ามีหลายรูปแบบ นอกจากนี้พบว่ารูปแบบของ Procedural Knowledge จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะการเรียนรู้ (Style of Learning)ของผู้เรียน ทั้งยังแสดงให้เห็นถึง Action ในการสร้างความรู้ของผู้เรียน ที่เริ่มโดยการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความ ขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive Conflict) ด้วยการเผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหา หลังจากนั้น ผู้เรียนจะพยายามปรับโครงสร้างทางปัญญาให้เข้าสู่สภาวะสมดุลโดยการเสาะแสวงหา ค้นพบคำตอบ (Discovery) จากห้องสมุดทางปัญญา และแหล่งสนับสนุนอื่นๆที่จัดไว้ภายในสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
(2) การสำรวจความคิดเห็นผู้เรียน พบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่เห็นว่าสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ มีความเหมาะสมในทุกด้านทั้ง ด้านเนื้อหา ด้านสื่อบนเครือข่าย ด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ โดยการเรียนจากสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ฯ ทำให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเอง สร้างกระบวนการคิดด้วยตนเอง และเปิดโอกาสในการสร้างทางเลือกที่หลากหลายในการเรียนรู้และแก้ปัญหาทั้งในบทเรียนและสภาพบริบทจริง ตลอดจนการประสานร่วมระหว่าง คุณลักษณะของสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเชื่อมโยงหลายมิติ (hyperlinks) ประกอบด้วยโนดของความรู้ที่สามารถเชื่อมโยงกับความรู้อื่นๆอย่างไร้ขอบเขต ซึ่งสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างความรู้ของ ผู้เรียน