ผู้ส่งบทความ1   
  
หน่วยงาน ไม่สามารถระบุได้
วัน/เดือน/ปี วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552
เวลา 11:20:40 น.
หัวข้อบทความ ของใหม่หรือของโบราณ
บทความ ต่อไปนี้ไม่เชิงเป็นบทความ แต่เป็นข้อคิดต่อการทำงานที่ส่งผลต่อการทำงาน แต่ผู้อ่าน อาจนำไปใช้ปรับในการทำงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหลาย ๆหน่วยงานก็เคยแจ้งว่านำไปใช้ประโยชน์
ของใหม่หรือของโบราณ
การจัดการการสอบปลายภาคของภาคเรียนนี้ที่มีการเปลี่ยนสำคัญที่เห็นคือ
1 ผังที่นั่งสอบ เป็นลำดับที่ อย่างเดียว ซึ่งในแต่ละห้องจะอยู่ที่ตำแหน่งไม่เหมือนกันเช่น เลขที่ 27 บางห้องจะอยู่หน้าห้อง บางห้องจะอยู่หลังห้อง ผู้เข้าสอบรวมทั้งกรรมการสอบต้องช่วยกันนับหาที่นั่งเอง
2 ผังที่สั่งสอบปิดไว้ที่หน้าห้อง ไม่มีชุดของกรรมการสอบ
ผู้เข้าสอบต้องใช้บูรณาการการฝึกนับ และการเปลี่ยนเลขประจำตัวสอบในบัญชีผู้เข้าสอบ เป็นเลขที่นั่งสอบ ซึ่งในแต่ละห้อง ก็ไม่ใช่ตัวเลขเดียวกัน
ส่วนของที่ใช้อยู่ปัจจุบันที่ไม่ใช่ภาคเรียนนี้คือ
1 ผังที่นั่งสอบใช้อักษรคอลัมภ์และแถว เช่น A1 B5 ฉะนั้นทุกห้องสอบที่เลขที่เดียวกันจะอยู่ตำแหน่งเดียวกันหาได้ง่าย และทุกเลขที่นั่งสอบ จะมีรหัสประจำตัวนักศึกษากำกับ ทำให้สะดวกทั้งผู้เข้าสอบและกรรมการสอบ
2 ผังที่นั่งสอบ มีทั้งที่ปิดหน้าห้อง และที่กรรมการสอบ
3 หน้าชั้นในห้องเหนือกระดาน ยังมีตัวอักษรแสดง คอลัมภ์ A B C D E F อยู่ด้วย
ถามว่าที่เปลี่ยนแปลงนี้เป็นนวัตกรรมใหม่หรือไม่ ตอบว่าไม่ใช่แน่นอน เคยใช้ผังที่นั่งสอบเป็นเลขลำดับที่ มาแต่เดิมเมื่อ 20 ปี กว่าที่แล้ว แต่เมื่อ 20 ปีกว่า จะเขียนรหัสประจำตัวนักศึกษาที่ผังที่นั่งสอบ และเขียนเลขที่นั่งสอบที่โต๊ะผู้สอบแต่ละตัวด้วย แต่ครั้งนี้ไม่ได้ทำอะไรที่จะช่วยผู้เข้าสอบเลย
จึงใคร่เสนอว่าถ้าอยากจะเปลี่ยนแปลงควรให้สะดวก แก่ผู้ใช้ ไม่ควร เอาสะดวกแก่ผู้ทำแต่เพียงอย่างเดียว และน่าจะให้ดีกว่าที่เคยใช้ในปัจจุบันด้วย
ที่นำเสนอก็เพื่อให้ทราบปัญหามิฉะนั้นจะหลงเข้าใจผิดว่าทำได้ดีแล้ว เหมือนการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างที่ ดีน้อยลงมาก และนี่ก็เป็นช่องทางที่จะนำเสนอแนวคิด ได้ ท่านผู้อื่นมีแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างไร ควรนำเสนอให้ทุกคนได้ ทราบ แต่ก็อย่าลืมว่าคนดีชอบแก้ไข ไม่ชอบแก้ตัว

องอาจ ศิลาน้อย















 
 
แนบแฟ้มข้อมูล  
 
 
 
 
 
จำนวนผู้อ่าน 1 คน

[หน้าแรก] [รวมบทความ]