ผู้ส่งบทความ1 | นางสาวจรัสศรี จุฑาจินดาเขต | |
หน่วยงาน | ผู้เกษียณอายุรายการ | |
วัน/เดือน/ปี | วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2552 | |
เวลา | 00:40:21 น. | |
หัวข้อบทความ | เปลี่ยน "อาจารย์" ให้เป็น "ครู" | |
บทความ |
อ่านบทสรุปหลังการเข้ารับการอบรม ของ Dr. Pop สาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดลน่าสนใจ เป็นการอบรม "บุคลากรผู้นำทางการศึกษา" - ประเด็นที่ทำให้ผมค้นพบ "แรงบันดาลใจ" เปลี่ยนความท้อใจในการทำหน้าที่ประธานหลักสูตรและอาจารย์ ม.มหิดล ให้มีความมุ่งมั่นในการทำหน้าที่ "ครู" ที่รู้ทันความรู้สึกผ่านร่างกาย ความคิด (สมอง) และหัวใจ มากขึ้นหลังการอบรม ได้แก่:กระบวนการคิดของเราเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา...หากเรารู้จักค่อยๆ คิดอย่างไตร่ตรองผ่านการบันทึกและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยฟังและจับความรู้สึกของผู้พูดอย่างใส่ใจ...เราจะรู้จักการเรียนรู้ที่ประณีตระหว่าง "ผู้ให้" และ "ผู้รับ" หรือ "ผู้นำ" และ "ผู้ตาม" อย่างเปิดใจ (สังเกตและสัมผัสความจริงใจในกระบวนการเรียนรู้) การจัดพื้นที่การเรียนรู้ให้กว้างขึ้น...หากเรารู้จักค่อยๆ จัดเวลาเรียนรู้ให้ช้าลงผ่านการวิเคราะห์เนื้อหาและมีการประเมินผลเชิงคุณภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่น คุณภาพของการฟัง คุณภาพของการสังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายและความคิดของตนเอง คุณภาพของการสะท้อนความคิดของตนเอง คุณภาพของการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นด้วยใจ การค้นหา "ตัวตนที่แท้จริง" นำพาตนเองสู่กลุ่มการเรียนรู้กับกัลยาณมิตรที่มีมิติของความคิดที่แตกต่างกันแต่เชื่อมโยงหรือต่อยอดการเรียนรู้อย่างไม่มีขีดจำกัด การเรียนรู้ความคิดในเหตุการณ์ใหม่ๆ จากเพื่อนใหม่ เช่น ครูที่รักและนำมาเป็นแบบอย่าง พัฒนาการของเพื่อนจากวัยเด็กสู่ปัจจุบัน การสะท้อนอารมณ์ขณะนั้น การสะท้อนความคิดหลังจากสร้างหอคอยระบบการศึกษา การเติมเต็มสีและรูปวาดของตนเองและเพื่อน การลองปิดตาให้เพื่อนนวดอย่างใส่ใจ การฟังบทกวีแล้วสะท้อนความคิด การดูภาพยนตร์ Make a Difference (www.MakeADifferenceMovie.com) เพื่อศึกษาตัวอย่างของครูที่ช่วยนักเรียนอย่างแท้จริง การแสดงตันตนผ่าน MindMap กับเพื่อน การทำโยคะที่มีลำดับการหายใจจัดระเบียบร่างกายด้วยใจสงบนิ่ง การฝึกทำสมาธิและทบทวนความรู้สึกก่อน-หลังทำกิจกรรมการเรียนรู้ (Check In & Out) ครูในดวงใจ มีคุณสมบัติเสียสละทุ่มเทเป็นต้นแบบที่ดี มองโลกในแง่ดี มีความเป็นแม่/พ่อ มีเหตุผลสอนให้คิดให้เห็นความสำคัญ เอาใจใส่ให้กำลังใจและแรงบันดาลใจ รักและเมตตา มีระเบียบวินัย และเปิดใจด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง 7C of Contemplative Education: Contemplation, Compassion, Connection, Confronting Reality, Continuity, Commitment, and Community (จากงานวิจัยนำโดย ดร.ฐิรัฐกาล) You are WHAT you teach, You are HOW you teach, You are WHY you teach (ข้อคิดดีๆ จาก อ.อดิศร) นักวิชาการมักถูกฝึกมาให้ป้อนวิชาการแก่นักศึกษา "ลืมความรู้สึกรักและเมตตาระหว่างครูกับนักศึกษา" ...หากอาจารย์ที่เชี่ยวชาญวิชาการต่างๆ ในมหาวิทยาลัย "ค้นพบความรู้สึกสัมผัสใจของตนเองและผู้อื่น" อาจารย์ก็จะสามารถแสดงบทบาทของ "ครู" ที่มีเวลามากพอที่จะแสดงความรู้สึก "ใส่ใจและเปิดใจ" กับนักศึกษาหรือผู้ร่วมงานให้เกิดการเรียนรู้นอกเหนือจากวิชาการ...พร้อมที่จะเกิดการเรียนรู้ "ชีวิตและความเป็นมนุษย์" อย่างมีคุณค่าและมีความสุขอย่างยั้งยืน การพัฒนาความเป็นมนุษย์ของอาจารย์อุดมศึกษานั้น...คือการพัฒนาให้นักศึกษาเป็นคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเราเรียนรู้จนเก่งได้แต่การเรียนรู้ที่จะเป็นคนดีต้อง "ให้โอกาสการฝึกฝน" ในสภาวะที่รู้ทันความคิดของตนเองและผู้อื่นในสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดปัญหาซับซ้อนอยู่ตลอดเวลา...ปัญญาของมนุษย์จึงเกิดขึ้นผ่านการรู้จิตของตนเองเพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิดพื้นฐานของตนเองที่ประกอบด้วย ความรักและเมตตา ความเจริญ ความมีวิจารณญาณ ความมุ่งเป้าหมายรับใช้สังคม และความรู้สึกเปิดใจ ผมประทับใจที่พี่ น้อง และเพื่อนอาจารย์ มีกระบวนการคิดที่หลากหลายเพราะมีที่มาจากหลายศาสตร์หลายสาขาวิชาชีพ ทำให้ผมสะท้อนความรู้สึกและความคิดผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่มากกว่า "กิจกรรมบำบัด" แล้วเกิด "แรงบันดาลใจและกำลังใจ" ในการทำหน้าที่ "ครู" ให้กับนักศึกษาของผมต่อไป รู้สึกเข้าใจตนเอง เมื่อฟัง "กัลยาณมิตร" สะท้อนความคิดหลังฟังเรื่องเล่าของตนเองอย่างอดทน ใส่ใจ และเปิดใจรับรู้...กระบวนการคิดของมนุษย์นั้นซับซ้อนซ่อนเงื่อนราวกับอาจารย์ไม่ใช่ครู...หากไม่ระเบิดความคิดในมิติกาย ใจ และสมองให้ผ่านวิธีการหรือรูปแบบที่ไตร่ตรองหรือมีสติใคร่ครวญ เช่น จิตตปัญญาศึกษา... การศึกษาเพื่อจิตสำนึกใหม่ การศึกษาที่มีหัวใจของมนุษย์ หรือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน ...กระบวนการคิดของมนุษย์นั้นเรียบง่ายและเข้าถึงมนุษย์และธรรมชาติ หากสัมผัสใจผ่านการฟัง พูด อ่าน เขียน และสะท้อนใจสู้ใจระหว่าง "ผู้ให้" และ "ผู้รับ" จาก http://gotoknow.org/blog/otpop/264876 |
|
แนบแฟ้มข้อมูล | 101106-a-1482552004954-temp.doc | |
จำนวนผู้อ่าน 1 คน | ||