ผู้ส่งข่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประยุทธ  ชูสอน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประยุทธ  ชูสอน
   กลุ่มงาน ทั่วไป
   ระดับข่าว ด่วนที่สุด
   วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม 2548
   เวลา 09:31:07 น.
   หัวข้อข่าว ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้าง
   ข้อความ เรียน คณบดี คณะกรรมการประจำคณะ และคณาจารย์



ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้าง


การนำเรียนเสนอบทความที่เป็นอีกกรณีศึกษาหนึ่งนี้ สืบเนื่องจากทราบข่าวจากโทรทัศน์ว่ามีการปิดสมัยประชุมของรัฐสภาไปแล้วเมื่อวานนี้ ซึ่งแสดงว่า พระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ไม่ผ่านการเห็นชอบของวุฒิสภา แต่คาดหวังว่าจะผ่านการพิจารณาและยืนยันจากสภาผู้แทนราษฎรด้วยเหตุผลเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินนั้น ก็คงจะหมดหายไปด้วย
เมื่อพระราชบัญญัติฉบับใหม่ไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติที่ยังคงมีผลต่อการบังคับใช้ก็คงยังเป็นพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี พ.ศ. 2541 อยู่เช่นเดิม เมื่อเป็นเช่นนี้ กรณีศึกษาเกี่ยวกับการจัดระบบบริหารจัดการตามโครงสร้างใหม่ของคณะศึกษาศาสตร์จึงมีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงขึ้น จึงขอยกเอาสาระที่เกี่ยวข้องจาก พ.ร.บ. มข. ปี 41 มาอ้างอิงเพิ่มเติมจากหลักการวิชาการและหลักการบริหารที่เคยตั้งข้อสังเกตเอาไว้ ดังนี้
1) มาตรา 8 วรรค 4 กำหนดว่า คณะอาจแบ่งส่วนราชการเป็นสำนักงานคณบดี ภาควิชา กอง หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาหรือกอง
2) มาตรา 9 วรรค 2 การแบ่งส่วนราชการเป็นสำนักงานคณบดี สำนักงานอำนวยการ ภาควิชา กอง และงาน หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา กอง หรืองาน ให้ทำเป็นประกาศทบวงมหาวิทยาลัย (คงเปลี่ยนเป็น กระทรวงศึกษาธิการ)
3) มาตรา 16 (4) สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่พิจารณาการจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกบัณฑิตวิทยาลัย คณะ สถาบัน สำนัก ศูนย์ และวิทยาลัย หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ รวมทั้งการแบ่งส่วนราชการของส่วนราชการดังกล่าว
4) มาตรา 30 ในกรณีที่มีการแบ่งภาควิชาหรือแบ่งส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาในคณะ ให้มีหัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของภาควิชาหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา และจะให้มีรองหัวหน้าภาควิชาหรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาคนหนึ่งหรือหลายคนเพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบตามที่หัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชามอบหมายก็ได้
หัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชานั้น ให้อธิการบดีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของคณบดีจากคณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยซึ่งได้ทำการสอนมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสามปีในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง
หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชามีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี และอาจดำรงตำแหน่งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้ และให้นำมาตรา 21 วรรคสาม มาใช้บังคับกับการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระของหัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาโดยอนุโลม การรักษาราชการแทนหัวหนาภาควิชาหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา ให้นำมาตรา 24 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
จากสาระสำคัญที่อ้างอิงจาก พ.ร.บ. มข. ปี 41 แสดงให้เห็นว่า โครงสร้างของคณะศึกษาศาสตร์ที่มีการแบ่งส่วนราชการเป็นสามส่วนคือ สำนักงานคณบดี สำนักงานวิชาการ และโรงเรียนสาธิต และได้รับการรับรองจากสภาหาวิทยาลัยแล้วนั้น จึงมีความถูกต้องตาม พ.ร.บ. นี้ จะรอก็คงเพียงการประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้นประเด็นว่าโครงสร้างนี้มีความถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นที่สงสัยอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากองค์ประกอบของโครงสร้างใหม่นั้น เมื่อพิจารณาความตามมาตรา 8 วรรค 4 ที่กำหนดว่า คณะอาจแบ่งส่วนราชการเป็นสำนักงานคณบดี ภาควิชา กอง หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาหรือกอง ก็แสดงว่า:

"สำนักงานวิชาการมีฐานะเป็นส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาหรือกอง"


เมื่อ ?สำนักงานวิชาการ? มีฐานะเป็น ?ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาหรือกอง? ก็ต้องพิจารณาความในมาตรา 30 ต่อไปอีก ที่ระบุว่า ?ในกรณีที่มีการแบ่งภาควิชาหรือแบ่งส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาในคณะ ให้มีหัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของภาควิชาหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา และจะให้มีรองหัวหน้าภาควิชาหรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาคนหนึ่งหรือหลายคนเพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบตามที่หัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชามอบหมายก็ได้?
หัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชานั้น ?ให้อธิการบดีแต่งตั้ง? โดยคำแนะนำของคณบดีจากคณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยซึ่งได้ทำการสอนมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสามปีในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง

เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็แสดงว่า:

"สำนักงานวิชาการจะต้องมีหัวหน้าสำนักงาน ตามนับของมาตรา 30 ดังกล่าวข้างต้น"

และนั่นก็แสดงว่า ตามโครงสร้างใหม่ของคณะศึกษาศาสตร์ คณะฯ คงจะต้องดำเนินการให้มี ?หัวหน้าสำนักงานวิชาการ? (อาจมีรองหัวหน้าสำนักงานวิชาการด้วย) แล้วเสนออธิการบดีเพื่อแต่งตั้งต่อไป แต่ในประเด็นนี้ ไม่เห็นคณะศึกษาศาสตร์กล่าวถึงหรือกำหนดไว้ในที่แห่งใด กล่าวถึงแต่คณะกรรมการต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชา (เพราะแสดงด้วยเส้นทึบ) ของสำนักงานวิชาการนี้ คือ คณะกรรมการวิจัย คณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และคณะกรรมการพัฒนานักศึกษา โดยมีคำว่า ?อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร? เป็นฐานรากสุดของสายการบังคับบัญชาของหัวหน้าสำนักงานวิชาการ
ในประเด็นนี้ มีข้อสงสัยขึ้นว่า หากคณะศึกษาศาสตร์กำหนดให้มี ?หัวหน้าสำนักงานวิชาการ? ขึ้น จะมีขั้นตอนหรือกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งหัวหน้าสำนักงานวิชาการนี้อย่างไร รูปแบบการบริหารของ ?หัวหน้าสำนักงานวิชาการ? ต่อ ?คณะกรรมการชุดต่างๆ? ว่า และต่อ ?อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร? นั้นจะเป็นอย่างไร ผู้เขียนยังมองภาพในเชิงปฏิบัติไม่ออก ก็ใคร่ขอฝากท่านผู้รู้ช่วยพิจารณาด้วย
แต่หากไม่กำหนดให้มีขึ้น ก็แสดงว่าคณะศึกษาศาสตร์กำลังจัดระบบการบริหารจัดการที่ไม่เป็นไปตามมาตรา 30 ของ พ.ร.บ. มข. ปี 41 หรือไม่ ? มีสิทธิ์ที่จะกระทำเช่นนั้นได้หรือไม่ ? มีกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับอื่นใดที่เปิดช่องทางให้กระทำเช่นนั้นได้ ? ใคร่ขอฝากท่านผู้รู้ช่วยพิจารณาด้วยเช่นกัน
มีอีกแหล่งอ้างอิงหนึ่งที่เกี่ยวพันกับโครงสร้างในส่วนที่เป็น ?สำนักงานวิชาการ? คือ ระเบียบ มข. ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 ในข้อต่างๆ ดังนี้
1) ข้อ 19 (19.2) กำหนดว่า หลักสูตรหนึ่งๆ ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ซึ่งคณะแต่งตั้ง คณะกรรมการบริหารหลักสูตรดังกล่าว อาจกำกับหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งหรือหลายหลักสูตร ก็ได้ ให้เป็นไปตามที่คณะกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่คณะกำหนด
2) ข้อ 20 ให้มีคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลคุณภาพและการบริหารจัดการหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาทุกหลักสูตรในองค์รวมของคณะนั้นๆ องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ให้เป็นไปตามที่คณะกำหนด
จากแหล่งอ้างอิงดังกล่าวข้างต้น กรณีการกำหนดให้มี ?คณะกรรมการบริหารหลักสูตร? ก็คงไม่มีปัญหา เนื่องจากคณะได้ยอมรับจะให้มีการแต่งตั้งกันแล้ว มีแต่ประเด็นตามข้อ 20 ?คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา? ซึ่งดูจะยังมีปัญหาอยู่ เพราะคณะไม่เคยกล่าวถึงหรือแสดงว่ามีคณะกรรมการชุดนี้เลย ก็มีคำถามเช่นกันว่า คณะสามารถจะ ?ไม่กำหนด? ให้มีคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา ตามนัยข้อ 20 ของระเบียบ มข. ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 ได้หรือไม่ ?
สำหรับประเด็นอื่นๆ ที่เคยตั้งข้อสังเกตไว้ ผู้เขียนยังคงขอเรียนเสนอประเด็นเกี่ยวกับการแสดงเส้นประแทนเส้นทึบในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคณบดีกับคณะกรรมการประจำคณะ และระบบการบริหารจัดการที่ยึดหลักการกระจายอำนาจให้กับหน่วยปฏิบัติระดับหลักสูตร ทั้งเรื่องของคน เงิน และสำนักงาน
ทั้งที่กล่าวมาข้างต้น และที่เคยตั้งข้อสังเกตในบทความที่แสดงมาก่อนหน้านี้ ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายสำคัญสองประการ คือ 1) เพื่อให้ตนเองมีความกระจ่างและเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงสร้างใหม่ของคณะศึกษาศาสตร์เพราะมีประเด็นที่ก่อให้เกิดความสงสัยหลายประการ และ 2) เพื่อตั้งข้อสังเกตและให้ข้อเสนอแนะ เพื่อการพิจารณาของผู้มีอำนาจทางการบริหารประจำคณะได้รับทราบและพิจารณา ซึ่งจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็คงเป็นเรื่องของท่านเหล่านั้น แต่ผู้เขียนก็ถือว่าได้แสดงทัศนะและให้ข้อเสนอแนะในฐานะที่เป็นนักวิชาการทางการบริหารการศึกษาให้ท่านรับทราบด้วยแล้ว และคงจะเพียงพอแค่นี้ ไม่กล่าวถึงอีกต่อไป

รศ. ดร. วิโรจน์ สารรัตนะ
ดร. ประยุทธ ชูสอน
15 ธันวาคม 2548

 
 
   แนบแฟ้มข้อมูล  
 
 
 
 

[หน้าแรก] [รวมข่าว]